ลดพุง ลดโรค ห่างไกลจากโรคอ้วน
- อ้วนลงพุง คือ เส้นรอบเอวมากกว่า ส่วนสูง (เซนติเมตร) ÷ 2
- โรคอ้วน คือ มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่าหรือเท่ากับ 25
สาเหตุโรคอ้วน
- รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่มาก
- ตั้งครรภ์แล้วน้ำหนักตัวเพิ่มและไม่สามารถลดได้หลังคลอด
- สิ่งแวดล้อม เช่นทำงานหนัก ไม่สะดวกออกกำลังกาย
- อารมณ์หรือภาวะทางจิตเวชเช่นเครียดซึมเศร้า
- ภาวะโรคถุงน้ำรังไข่ผิดปกติโรคระบบฮอร์โมน
- พักผ่อนน้อยส่งผลต่อสมดุลฮอร์โมน
- พันธุกรรม และพฤติกรรมการรับประทานอาหารร่วมกันของคนในครอบครัว
โรคอ้วน เสี่ยงต่อการมีภาวะแทรกซ้อน
ผู้ที่เป็นโรคอ้วนอาจมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไปนี้มากขึ้น อาทิ
- โรคหัวใจ
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคเบาหวาน
- มะเร็งบางชนิด
- ปัญหาทางเดินอาหาร
- ปัญหาทางนรีเวชและทางเพศ
- อาการหยุดหายใจขณะหลับ
- โรคข้อเข่าเสื่อม
การรักษาโรคอ้วน
- เพิ่มกิจกรรมทางกายให้มากขึ้นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- เพิ่มการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเฉลี่ย 7 - 8 ชั่วโมง
- เพิ่มการดื่มน้ำให้เพียงพอให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
- เพิ่มการรับประทานผักผลไม้โดยเป็นผัก 2 ส่วนข้าว 1 ส่วนและเนื้อสัตว์ 1 ส่วน
- ลดการเนือยนิ่งไม่ขยับร่างกาย
- ลดอาหารและเครื่องดื่มที่มีความหวานมันเค็มรวมไปถึงโซเดียมด้วย
- ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ลดปริมาณอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อให้เหมาะสม
วิธีเหล่านี้จะได้ผลดีสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินทั่วไป แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะต้องใช้ความพยายาม และการดูแลที่มีความซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนลของเราก็ยังมีวิธีการรักษาในรูปแบบอื่นๆ ด้วย อาทิเช่น
- ยาลดน้ำหนักจากแพทย์เฉพาะทางส่งผลต่อฮอร์โมน ช่วยเรื่องควบคุมอาหาร และกระตุ้นการเผาผลาญ
- การทำบอลลูนในกระเพาะอาหารเพื่อลดขนาดและพื้นที่ในกระเพาะอาหารทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น
- การผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนักและรักษาโรคประจำตัว
รับประทานอาหารอะไรช่วยลดน้ำหนัก
- เนื้อแน่น เนื้อหนัก อาหารเหล่านี้จะมีลักษณะแน่น ทึบ ไม่โปร่ง ไม่กลวง ไม่อมน้ำ เป็นเนื้อล้วนๆ ได้รับแคลอรี่เต็มเปี่ยม รับประทานในปริมาณน้อยก็อิ่มแล้ว ในขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับอาหารที่อมน้ำหรือมีอากาศเยอะ อาจทำให้รู้สึกอยากอาหารในปริมาณที่เยอะกว่า
- โปรตีนสูง ยิ่งทานอาหารโปรตีนเยอะเท่าไหร่ ก็ยิ่งระงับความหิวได้นานขึ้น
- ไฟเบอร์สูง ทำให้อิ่มท้อง แถมยังช่วยเรื่องการขับถ่าย
- มีขนาดใหญ่แต่แคลอรี่ต่ำ อาหารเหล่านี้แม้จะรับประทานน้อย ก็จะอิ่มนาน เช่น มันฝรั่งต้ม ไข่ต้ม เทียบกับเค้กหรือคุกกี้ แม้จะรับประทานหมดทั้งถุงก็ยังไม่อิ่มอยู่ดี
เทคนิคการรับประทานอาหาร
- ให้ความสำคัญกับมื้อเช้าการอดมื้อเช้าทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงทำให้มีแนวโน้มที่จะอยากรับประทานอาหารที่มีพลังงานและไขมันสูงในมื้ออื่นๆ
- ดื่มน้ำเปล่าให้มากดื่มก่อนรับประทานอาหารจะช่วยลดความหิวดื่มเรื่อยๆทั้งวันจะช่วยลดความอยากอาหารหวานได้ดี
- เคี้ยวอาหารช้าๆสมองจะสั่งให้หยุดกินใช้เวลาประมาณ 20 นาที
- จัดการเวลาการกินให้ดีรับประทานอาหารให้ตรงเวลาจะช่วยให้ไม่รู้สึกหิวบ่อยการอดอาหารจะทำให้ร่างกายสะสมไขมันมากขึ้น
เราไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มีเรือนร่างที่โค้งเว้าที่สุด เป๊ะปังที่สุด ทุกท่านสามารถพอใจกับรูปร่างแบบไหนก็ได้เท่าที่ตนเองจะสามารถมีความสุขกับมัน แต่อย่าลืมว่าสุขภาพก็ไม่ควรละเลยเช่นเดียวกัน วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการดูแลตนเองคือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 45-60 นาทีต่อวัน หรืออาจเป็นกิจกรรมการออกกำลังกายอื่นๆ ที่เหมาะสมต่อสภาพร่างกายและความถนัดของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อรักษาน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพในระยะยาว
สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ. จักรกฤษ อุ้ยนิรันดรกุล แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทั่วไป
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745 ต่อ ศูนย์์ศัลยกรรมทั่วไป