โรคเสียงอื้อในหู ความผิดปกติของหู
เสียงดังรบกวนในหู (Tinnitus)
คือ เสียงที่เกิดจากความผิดปกติของหู หรืออวัยวะข้างเคียงแบ่งออกเป็น 2 แบบ
- เสียงรบกวนที่ผู้ป่วยได้ยินคนเดียว (Subjective Tinnitus) เช่น เสียงจิ้งหรีดร้อง, เสียงพรึบพรับ, เสียงลม หรือเสียงหึ่งๆ อื้อๆ
- เสียงที่แพทย์ได้ยินด้วย (Objective Tinnitus) มักเป็นเสียงที่เกิดจากหลอดแดงใหญ่ (Carotid Artery) หลอดเลือดดำ (Jugular Vein) ที่ผ่านจากคอไปสมอง มักเป็นเสียงตุ้บๆ หรือฟู่ๆ ตามชีพจร
การวินิจฉัย
คือ การสังเกตลักษณะเสียงที่รบกวนในหูของผู้ป่วย จะช่วยในการวินิจฉัย ดังนี้
คือ การสังเกตลักษณะเสียงที่รบกวนในหูของผู้ป่วย จะช่วยในการวินิจฉัย ดังนี้
- เสียงจิ้งหรีดร้อง หรือเสียงรบกวนที่มีความถี่สูง เกิดจากความเสื่อมของหูชั้นในทั้งจากอายุที่มากขึ้น และจากการทำงานอยู่กับเสียงดังมากเป็นเวลานาน หรือจากการได้ยินเสียงดังมากทันที เช่น ระเบิด ประทัด ซึ่งมักจะมีการสูญเสียการได้ยินด้วย นอกจากนี้ ยาบางตัวยังมีผลทำให้เซลล์ประสาทหูชั้นในเสื่อม เกิดหูตึง หูดับ เช่น แอสไพริน ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาฆ่าเชื้อที่เป็นพิษกับไตมักเป็นพิษกับหูด้วย รวมถึงยาเคมีบำบัดบางชนิด
- เสียงลม เกิดจากการทำงานของท่อปรับความดันหูผิดปกติ
- เสียงรบกวนจากภาวะหินปูนเกาะที่ฐานกระดูกโกลน ในหูชั้นกลาง
- เสียงพรึบพรับ เกิดจากขี้หูที่อยู่ใกล้แก้วหูขยับไปมาตามการสั่นของแก้วหู เมื่อมีการรับเสียงจากภายนอก
- เสียงก้องในหูจากการมีน้ำขังในหูชั้นกลาง
- เสียงหึ่งๆ อื้อๆ หรือเสียงรบกวนที่มีความถี่ต่ำ มักเกิดกับโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ร่วมกับอาการเวียนหัวบ้านหมุน และการได้ยินลดลง
- เสียงตุ้บ ตุ้บ ที่ดังตามชีพจร มักเกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Carotid Artery) ตีบจากภาวะที่มีคราบไขมันเกาะผนังหลอดเลือด ภาวะความดันสูง การทำงานผิดปกติของต่อมไทรอยด์ หรือ ภาวะซีด มักทำให้หัวใจต้องบีบตัวแรงขึ้น
- เสียงฟู่ที่ดังตามชีพจร มักเกิดจากการที่หลอดเลือดดำใหญ่ (Jugular Vein) วางตัวสูงใกล้กับกระดูกกกหู เมื่อแพทย์กดบริเวณนั้นเสียงมักหายไป
- เสียงคลิ้กในหู เกิดจากการหดเกร็งของเอ็นยึดกระดูกโกลน ของหูชั้นกลาง แก้ไขได้โดยการให้ยา ถ้าไม่ดีขึ้นต้องอาศัยการผ่าตัดรักษาต่อไป
นอกจากการสังเกตลักษณะเสียงที่รบกวนในหูของผู้ป่วยแล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จะมีการวินิจฉัยโดยการตรวจการได้ยิน “ออดิโอแกรม” (Audiogram) ร่วมด้วยเสมอ เพื่อความแม่นยำและถูกต้องในการวินิจฉัยโรค
การรักษา
การรักษา ขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียงรบกวนนั้น เช่น การทำความสะอาดเพื่อเอาขี้หูออก, การให้ยารักษาอาการบวมของท่อปรับความดันหูหรือการให้ยาเพื่อรักษาอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน, การให้ยาเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน, การใช้สเตียรอยด์, ใบแปะก๊วย หรือยาเพิ่มเลือดไปเลี้ยงในหูชั้นในชนิดอื่น เช่น เบต้าฮีสทีน จะช่วยลดเสียงรบกวนได้ประมาณ 60 %
“มีการศึกษาในญี่ปุ่น ในคนไข้มากกว่า 3,000 คน ที่เคยรักษาด้วยยากินมาแล้ว พบว่าการฉีด สเตียรอยด์ เข้าในหูชั้นกลาง ได้ผลดีกว่าการรับประทานยาเพียงอย่างเดียว”
บางชนิดต้องอาศัยการผ่าตัด เช่น การใส่ท่อระบายน้ำที่ขังในหูชั้นกลาง, การผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกโกลนเพื่อรักษาภาวะหินปูนเกาะที่ฐานกระดูกโกลนในหูชั้นกลาง การรักษาเสียงตุ้บที่ดังตามชีพจรและเสียงฟู่ ต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยการตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) เพื่อการรักษาต่อตามสาเหตุที่พบ
เสียงรบกวนในหูบางชนิดจะค่อยๆเกิดโดยไม่รบกวนผู้ป่วยมากนักแต่การได้ยินจะลดลงเรื่อยๆพร้อมกับอาการเดินเซ มักเกิดมาจากเนื้องอกของเส้นประสาทคู่ที่ 8 เนื้องอกในสมอง หรือก้านสมองขาดเลือดไปเลี้ยง เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) จะช่วยในการวินิจฉัย และทำการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือ แกมม่าไนฟ์ (Gamma Knife) ต่อไป
“หูเป็นอวัยวะที่พัฒนาเป็นอันดับแรกตั้งแต่คนเราเป็นตัวอ่อนและได้รับการกระตุ้นด้วยเสียงตั้งแต่พัฒนาสมบูรณ์ ในครรภ์ การใช้งานที่ยาวนานย่อมเกิดความเสื่อมได้เป็นธรรมดา เมื่อเสื่อมก็มีสัญญาณเตือนเป็นเสียงรบกวนขึ้นมา การป้องกันให้เสื่อมช้าลงโดยหลีกเลี่ยงเสียงดัง รับประทานยาโดยปรึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันการทำลายเซลล์ประสาทรับเสียงหูชั้นในย่อมดีกว่าการแก้ไขภายหลัง เสียงดังในหูจากสาเหตุอื่นควรปรึกษาแพทย์หูคอจมูกเพื่อการรักษาที่สาเหตุ. อย่าปล่อยให้เสียงนั้นรบกวนคุณเพราะอาจทำให้คุณเครียดกับปัญหาที่รักษาได้” พญ.พัตราภรณ์ ตันไพจิตร กล่าว.
การรักษา
การรักษา ขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียงรบกวนนั้น เช่น การทำความสะอาดเพื่อเอาขี้หูออก, การให้ยารักษาอาการบวมของท่อปรับความดันหูหรือการให้ยาเพื่อรักษาอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน, การให้ยาเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน, การใช้สเตียรอยด์, ใบแปะก๊วย หรือยาเพิ่มเลือดไปเลี้ยงในหูชั้นในชนิดอื่น เช่น เบต้าฮีสทีน จะช่วยลดเสียงรบกวนได้ประมาณ 60 %
“มีการศึกษาในญี่ปุ่น ในคนไข้มากกว่า 3,000 คน ที่เคยรักษาด้วยยากินมาแล้ว พบว่าการฉีด สเตียรอยด์ เข้าในหูชั้นกลาง ได้ผลดีกว่าการรับประทานยาเพียงอย่างเดียว”
บางชนิดต้องอาศัยการผ่าตัด เช่น การใส่ท่อระบายน้ำที่ขังในหูชั้นกลาง, การผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกโกลนเพื่อรักษาภาวะหินปูนเกาะที่ฐานกระดูกโกลนในหูชั้นกลาง การรักษาเสียงตุ้บที่ดังตามชีพจรและเสียงฟู่ ต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยการตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) เพื่อการรักษาต่อตามสาเหตุที่พบ
เสียงรบกวนในหูบางชนิดจะค่อยๆเกิดโดยไม่รบกวนผู้ป่วยมากนักแต่การได้ยินจะลดลงเรื่อยๆพร้อมกับอาการเดินเซ มักเกิดมาจากเนื้องอกของเส้นประสาทคู่ที่ 8 เนื้องอกในสมอง หรือก้านสมองขาดเลือดไปเลี้ยง เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) จะช่วยในการวินิจฉัย และทำการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือ แกมม่าไนฟ์ (Gamma Knife) ต่อไป
“หูเป็นอวัยวะที่พัฒนาเป็นอันดับแรกตั้งแต่คนเราเป็นตัวอ่อนและได้รับการกระตุ้นด้วยเสียงตั้งแต่พัฒนาสมบูรณ์ ในครรภ์ การใช้งานที่ยาวนานย่อมเกิดความเสื่อมได้เป็นธรรมดา เมื่อเสื่อมก็มีสัญญาณเตือนเป็นเสียงรบกวนขึ้นมา การป้องกันให้เสื่อมช้าลงโดยหลีกเลี่ยงเสียงดัง รับประทานยาโดยปรึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันการทำลายเซลล์ประสาทรับเสียงหูชั้นในย่อมดีกว่าการแก้ไขภายหลัง เสียงดังในหูจากสาเหตุอื่นควรปรึกษาแพทย์หูคอจมูกเพื่อการรักษาที่สาเหตุ. อย่าปล่อยให้เสียงนั้นรบกวนคุณเพราะอาจทำให้คุณเครียดกับปัญหาที่รักษาได้” พญ.พัตราภรณ์ ตันไพจิตร กล่าว.
สนับสนุนข้อมูลโดย : พญ.พัตราภรณ์ ตันไพจิตร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน หู คอ จมูก
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. Call Center 1745
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. Call Center 1745