การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
เกิดอะไรขึ้นกับปอด เมื่อเกิดการติดเชื้อก่อโรคโควิด-19
ปฏิกิริยาของร่างกายที่เกิดจากการอักเสบของปอด ทำให้มีพังผืดและแผลเป็นต่างๆ ในปอดตามมา ซึ่งจะมีมากน้อยแค่ไหน หรือสามารถฟื้นตัวหลังจากหายได้มากเท่าไหร่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับ
- ปริมาณของเชื้อหรือมีการติดเชื้อชนิดอื่นซ้ำซ้อนหรือไม่
- พื้นฐานของสุขภาพร่างกายหรือระบบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเป็นอย่างไร
- ความเร็วในการให้การรักษาอย่างทันท่วงที
สภาพของปอดหลังหายป่วยจากโรคโควิด-19
การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ทำได้อย่างไร
ผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นตัวจากโรคโควิด-19 สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพปอดได้โดยการเคลื่อนไหวหรือขยับช่วงปอด เพื่อให้เนื้อปอดและถุงลมต่างๆ ค่อยๆ ฟื้นฟูตัวกลับมามีความยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงการออกกำลังกายเบาๆ เพื่อที่จะสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดังเดิม
การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดทำได้โดย การฝึกการหายใจ การบริหารปอดด้วยเครื่อง TRIFLOWและการออกกำลังกายเบาๆ ซึ่งการจะฟื้นฟูให้ปอดกลับมาเป็นปกตินั้นสามารถทำได้ แต่ต้องใช้เวลาพอสมควร
- การฝึกการหายใจ (BREATHING EXERCISE) และการบริหารปอดด้วยเครื่อง TRIFLOW นั้นจำเป็นในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังการฟื้นตัว เนื่องจากพังผืดจะทำให้เนื้อปอดมีความแข็ง พังผืดที่แข็งเมื่อได้ขยับบ่อยๆ จะทำให้ปอดขยายเต็มที่ ช่วยให้ปอดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้ ELASTICITY หรือความยืดหยุ่นของเนื้อปอดค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมา
- การออกกำลังกายเบาๆ สามารถทำได้ในสัปดาห์ที่ 3 - 4 เป็นต้นไป ในช่วงนี้ร่างกายอาจจะยังมีการอ่อนเพลีย แต่ปอดอาจจะเริ่มฟื้นตัวบ้างแล้ว ดังนั้น จึงต้องมีการออกกำลังกาย มีการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น โดยอาจเริ่มจากการออกกำลังกายเบาๆ เช่น การลุกเดินบ่อยๆ เมื่อร่างกายเริ่มชินแล้วค่อยเพิ่มความหนักขึ้นไป อาจจะเดินให้ไวขึ้น หรือวิ่ง JOGGING เบาๆ ได้เช่นกัน การดื่ม LEAN
สนับสนุนข้อมูลโดย : พญ.อรจิรา วงษ์ดนตรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation Medicine)
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745 ต่อ ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด