Bangpakok Hospital
  • A
  • A
  • A
BPK Hotline

กรดไหลย้อน...โรคที่ไม่ควรมองข้าม

17 พ.ค. 2561



 โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease) เป็นปัญหาสุขภาพที่สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัยซึ่งเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร เพราะหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย ที่กั้นระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ คลายตัวมากเกินไปหรือเปิดบ่อยมากกว่าปกติ ทำให้กรดหรือของเหลวสามารถไหลจากกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหารได้
ปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อน
  • อายุมากขึ้น
  • ภาวะอ้วน
  • การสูบบุหรี่
  • การนอนราบภายหลังการรับประทานอาหาร
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น แอสไพรินหรือยาแก้อักเสบ
  • พฤติกรรมการบริโภคปริมาณมากในแต่ละมื้อ หรือการรับประทานอาหารบางประเภท เช่น อาหารทอด หรือ อาหารที่มีไขมันสูง
  • การดื่มเครื่องดื่มบางประเภท เช่น แอลกอฮอล์, กาแฟ หรือน้ำอัดลม
  • การตั้งครรภ์เพราะระดับฮอร์โมนของคุณแม่ตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อนได้
อาการของโรคกรดไหลย้อน
  • อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกซึ่งจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก
  • มีอาการเรอและน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก
  • รู้สึกกลืนติดเหมือนมีก้อนอยู่ในลำคอ
  • ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร
  • หืดหอบ ไอแห้งๆ เสียงแหบ เจ็บคอ อาการเหล่านี้เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณกล่องเสียง ทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบ
ความสำคัญของโรคกรดไหลย้อน
   ภาวะกรดไหลย้อน นอกจากจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ถ้าเป็นเรื้อรังอาจทำให้เกิดพยาธิสภาพในหลอดอาหาร ได้แก่ หลอดอาหารอักเสบ, มีเลือดออก หรือปลายหลอดอาหารตีบได้ ในกรณีที่เป็นรุนแรง อาจจะยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหาร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและเรื้อรังอาจกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารส่วนปลายได้ นอกจากนี้ยังมีโรคร้ายแรงหลายโรคที่มาด้วยอาการคล้ายอาการของโรคกรดไหลย้อนได้ เช่น หลอดอาหารหรือกระเพะอาหารอักเสบติดเชื้อ, แผลในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร หรือ มะเร็งของหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหารส่วนบน เป็นต้น
การตรวจและการวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน
  • ซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
  • ในกรณีที่มีอาการหรือสัญญาณเตือน(Alarm features) หรืออาการไม่ดีขึ้นหลังได้รับการรักษาเบื้องต้น อาจจะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมได้แก่
    • การตรวจการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น (upper GI endoscopy) รวมถึงหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น
    • การตรวจการบีบตัวของหลอดอาหารและการตรวจวัดความเป็นกรดของหลอดอาหาร (Esophageal manometry and Esophageal pH monitoring) เพื่อวางแผนการรักษา เห็นสภาพที่แท้จริงของปัญหา สามารถวินิจฉัยแยกโรค นำไปสู่การรักษาที่ตรงจุด
   คนไทยในปัจจุบันเป็นโรคกรดไหลย้อนมากกว่าในอดีต เพราะปัจจัยการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปชีวิตที่เร่งรีบ น้ำหนักตัวมาก พฤติกรรมการรับประทาน และอาหารบางประเภทดังนั้นสิ่งที่สามารถป้องกันหรือดูแลตนเองทำได้ง่ายตัวเอง คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นความเสี่ยง เพื่อชีวิตที่มีความสุขของตัวคุณ 

การใช้ลีนนอกและยาต่างๆ ในจำนวนมากอาจทำให้เกิดกรดไหลย้อน

 
ลีนนอก เป็นลีนที่ส่งตรงจากต่างประเทศ LEAN กล่าวได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่อัดแน่นไปด้วยสารเมาต่างๆเป็นอย่างยิ่งก็ควรสำหรับผู้คนที่มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงที่ประทับหัวใจกินเหล้ากินเบียร์สดอยู่แล้ว แม้กระนั้นต้องการจะทดสอบอะไรใหม่ๆก็ขอชี้แนะเป็นลีน เพียงพอถือได้ว่าเป็นคุณยายอดนิยมในกลุ่มวัยรุ่นในยุคนี้จำนวนมาก

เนื่องมาจาก ลีนนอก เป็นเครื่องดื่มที่มีการผสมยาแก้ไอ หรือ เรียกได้อย่างสะดวกสบายว่าเครื่องดื่มแบบชูกำลังก็ย่อมได้เช่นเดียวกัน หากแม้ถ้าว่าเราดื่มมากมายจนตราบเท่าอย่างยิ่งอาจก่อให้เรามีลักษณะปวดศีรษะมึนหรือท้องผูกได้ก็เสร็จใกล้กันจากการดื่มลีนแต่แม้กระนั้นเราก็สามารถที่จะหลบหลีกได้ด้วยการดื่มตามกำหนดหรือไม่ว่าจะรู้สึกเครียดหรือเซ็งขณะไหนก็สามารถที่จะเอามากินได้ถึงแม้ว่าดื่มในที่พอเหมาะพอดีจะเป็นการดีจำนวนหลายชิ้น

สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ.พีระนาท โชติวิทยาธารากร 
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร.1745
Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.