Bangpakok Hospital
  • A
  • A
  • A
BPK Hotline

การตรวจเอคโค่หัวใจ บอกอะไรได้บ้าง...?

2 เม.ย. 2567


   “โรคหัวใจ” ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นได้ ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน  เนื่องจากในชีวิตประจำวัน ความเครียด การรับประทานอาหาร และสภาพแวดล้อม ทำให้เป็นการกระตุ้นและก่อให้เกิด “โรคหัวใจ” ฉะนั้นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ หากคุณมีความเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจเช็กสุขภาพหัวใจ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เพื่อเป็นการป้องกันและเข้ารักษาก่อนจะเกิดภาวะลุกลาม ด้วยการตรวจ ECHO ตรวจได้ตรงจุด ประเมินผลได้รวดเร็ว
 
ECHO คืออะไร ?
   การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง Echocardiography (Echo)  หรือ อัลตราซาวน์หัวใจ คือ การส่งคลื่นความถี่สูงที่มีความปลอดภัยต่อร่างกาย เข้าไปยังบริเวณทรวงอก  ผ่านอวัยวะต่างๆ และจะเกิดสัญญาณสะท้อนกลับ ระบบจะนำพาข้อมูลที่สะท้อน ไปประมวลผลเป็นภาพ แสดง รูปร่าง ขนาด และการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และลิ้นหัวใจได้อย่างชัดเจน การตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง เป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับการประเมินการทำงานของหัวใจ การบีบตัวคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจโต ลิ้นหัวใจตีบ หรือรั่ว โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ และดูตำแหน่งของหลอดเลือดต่างๆ ที่เข้า-ออกจากหัวใจ เป็นต้น    
ขั้นตอนการตรวจ
  • แพทย์จะติดแผ่นคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 3 จุด ขณะตรวจ
  • แพทย์จะให้ผู้ตรวจนอนบนเตียงราบ ตะแคงไปทางด้านซ้ายเล็กน้อย มือซ้ายพาดขึ้นบน
  • ใช้ระยะเวลาในการตรวจ 30 - 45 นาที ไม่เกิน 1 ชั่วโมง
  • ระหว่างการตรวจผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บ
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการทำ ECHO
  • ไม่ต้อง งดน้ำ งดอาหาร
  • หากมียาที่รับประทานประจำ ยังต้องแจ้งให้แพทย์และพยาบาลทราบล่วงหน้า เพราะอาจส่งผลต่อการตรวจและการทำงานของหัวใจ
  • สำหรับผู้ที่เข้ารับการตรวจ ควรสวมเสื้อผ้าที่สามารถถอดเปิดบริเวณหน้าอกได้ เพื่อความสะดวกในการตรวจ
การตรวจ ECHO สามารถบอกอะไรได้บ้าง...?
  • ประเมินผลของขนาดหัวใจได้ ว่ามีภาวะโรคหัวใจโตหรือไม่
  • ดูการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจได้
  • ดูความผิดปกติของเยื่อหุ้มหัวใจ
  • ดูเส้นเลือดแดงใหญ่บางส่วนได้
  • ดูลิ้นหัวใจตีบ หรือรั่วได้
เหมาะกับใคร...?
  • ผู้ที่มีอาการเหนื่อย หอบ หายใจลำบาก
  • ผู้ที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวาย (Congestive Heart Failure) การทำงานของหัวใจไม่มีประสิทธิภาพ
หลังเข้ารับการตรวจ
   สามารถรับประทานอาหาร ยา และทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ ยกเว้นแต่กรณีแพทย์สั่งห้าม
 
สนับสนุนข้อมูลโดย :  นพ.ประณิธิ สาระยา  แพทย์เฉพาะทางด้านการฉีดสีหัวใจ และการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และใส่ขดลวด
ศูนย์หัวใจ ชั้น 3 โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745


Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.