นิ่วในถุงน้ำดี เด็กก็เสี่ยงได้
โรคนิ่วในถุงน้ำดีส่วนใหญ่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่ ปัจจุบันพบว่าเด็กสามารถเกิดขึ้นได้ สาเหตุการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีในเด็กจะไม่เหมือนในผู้ใหญ่ที่เกิดจากคอเลสเตอรอล โดยส่วนใหญ่ในเด็กจะเกิดจากโรคของระบบเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย
ทำไมเด็กๆ เป็นนิ่วในถุงน้ำดี
- โรคของระบบเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย
- ความผิดปกติของทางเดินน้ำดี
- ภาวะอ้วน หรือ น้ำหนักเกิน
- พันธุกรรมซึ่งความเสี่ยงเหมือนในผู้ใหญ่
- สาเหตุอื่นๆ เช่น การได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด การได้รับสารอาหารทางเส้นเลือด หรือยาบางชนิด เป็นต้น
สัญญาเสี่ยงอันตราย...รีบพบแพทย์ ?
- อาการคลื่นไส้อาเจียน
- มีไข้ เหงื่อออก
- ตัวเหลือง ตาเหลือง และคันตามตัว
- ปัสสาวะมีสีเข้ม
- อุจจาระสีซีดเทา
โรคนิ่วในถุงน้ำดี มีทั้งชนิดมีอาการและไม่มีอาการ สำหรับเด็กที่มีอาการไม่มากและไม่ได้อยู่ในภาวะฉุกเฉิน ส่วนใหญ่แพทย์จะตรวจพบโดยการตรวจอัลตร้าซาวด์ หรือ ในบางรายหากไม่ได้รับการผ่าตัดอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ถุงน้ำดีอักเสบรุนแรง นิ่วเลื่อนไปอุดตันท่อน้ำดีจนเกิดการติดเชื้อในท่อน้ำดี อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต อย่างไรก็ตามการรักษาโรคในเด็กเป็นเรื่องละเอียดอ่อน รวมถึงอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับเด็กโดยเฉพาะ ปัจจุบันการรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดีสามารถทำได้โดยใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องนิ่วในถุงน้ำดี (Laparoscopic Cholecystectomy)
การรักษาด้วยเทคโนโลยีผ่าตัดผ่านการส่องกล้อง
- แผลมีขนาดเล็กเพียงไม่กี่จุด
- โอกาสที่จะติดเชื้อน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
- ใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 1 - 2 วัน สามารถกลับบ้านได้
ดังนั้นคุณพ่อและคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการดูว่า ลูกน้อยมีอาการที่เสี่ยงเหล่านี้หรือไม่ ?? เพื่อรู้ทันและรีบมารับการรักษาก่อนสายเกินไป
สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ. จักรกฤษ อุ้ยนิรันดรกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสาขาศัลยศาสตร์ทั่วไปและการผ่าตัดผ่านกล้อง
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร.1745