Bangpakok Hospital
  • A
  • A
  • A
BPK Hotline

ปวดแบบไหนเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

24 พ.ค. 2562

  โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท ส่วนใหญ่อาการของโรคเกิดได้หลายสาเหตุรวมไปถึงพฤติกรรมสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน ก็มีส่วนสำคัญในการร่นระยะเวลาการเกิดอาการเจ็บป่วยของร่างกายก่อนวัยอันควร
อาการนี้หละ….ใช่เลยหมอนรองกระดูก

  • ปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง โดยจะมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้าซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด
  • ปวดคอ คอแข็ง ปวดร้าวลงมาที่มือ หรือมีอการปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดร้าวลงมาที่แขน ขาข้างใดข้างหนึ่ง จนมีอาการปวด ชา ไม่มีแรง ขยับตัวลำบาก

ปัจจัยเสี่ยงที่เกิด…!!

  • อายุที่มากขึ้น
  • มีภาวะอ้วน หรือ น้ำหนักตัวที่มากเกินไป
  • การยกของหนักด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้องซ้ำๆบ่อยๆ
  • การทำพฤติกรรมซ้ำๆเดิมๆ เช่น 
  • การนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ ส่งผลทำให้ร่างกายใช้กล้ามเนื้อและมีแรงไปลงที่กระดูกสันหลังสูงกว่าท่ายืน
  • เกิดจากอุบัติเหตุและการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลัง
รักษา…!!
  • รับประทานยาแก้อักเสบหรือยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการปวด
  • กายภาพบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญ
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคปเป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุดเพราะแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กกว่าการผ่าตัดธรรมดาจากแผล 5 - 8 เซนติเมตร เหลือเพียง 2 - 3 เซนติเมตรจึงทำให้ฟื้นตัวเร็วและเจ็บน้อย
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้องจุลทรรศน์

   ปัจจุบันการรักษามีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค หากพบว่า มีอาการปวดหลัง หรือคนในครอบครัวบ่นปวดหลังบ่อยๆ ควรรีบพาไปพบแพทย์ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็คอย่างละเอียดและรับการรักษา 

สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ.กลยุทธ ตัณนิติศุภวงษ์  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.