ยังวัยรุ่นอยู่เลย ทำไมถึงปวดล่ะ?
อาการปวดในวัยหนุ่มสาวไม่ว่าจะเป็นอาการปวดคอ ปวดเอว หรือปวดหลัง ใช่ว่าอาการปวดหล่านี้จะเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีอายุมากเท่านั้น ปัจจุบันวัยรุ่นที่อยู่ในช่วงวัยมัธยมปลายไปจนถึงวัยทำงานตอนต้นก็บ่นปวดกันแล้ว หลายคนอาจมองข้ามและคิดว่าเป็นความเมื่อยล้าธรรมดา แต่อาการเหล่านั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของร่างกายได้เช่นกัน
ยังวัยรุ่นอยู่เลย ทำไมถึงปวดล่ะ?
โดยทั่วไปอาการปวดหลังจะเกิดกับผู้สูงวัยมากที่สุด แต่ด้วยวิถีการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจะพบว่าผู้ที่อายุ 30 ต้นๆ ก็สามารถเกิดอาการปวดได้บ่อยไม่แพ้ผู้สูงวัย ส่วนใหญ่อาการปวดบริเวณต่างๆ มักเกิดจากอิริยาบถต่างๆ ไม่ว่าจะนั่งนาน ยืนนาน นั่งผิดท่า ก้มๆ เงยๆ หรือยกของหนัก เมื่อกล้ามเนื้อถูกใช้งานมากเกินไปหรือเกร็งเป็นระยะเวลานาน จะยิ่งทำให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อ สะสมจนทำให้รู้สึกปวดมากขึ้น บางกรณีอาการปวดจะหายได้เองหากงดการใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นสักพัก หรือการใช้ยาทาภายนอกก็จะช่วยลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดที่อาจพ่วงด้วยอาการอื่นๆ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเคลื่อน กล้ามเนื้ออักเสบ หรือความผิดปกติอื่นๆ ในช่องท้อง เช่น โรคไต หลอดเลือดโป่งพอง เป็นต้น ซึ่งทำให้มีอาการปวดร้าวไปทีหลังได้ เป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกให้เราไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการปวด
- อายุ แม้อาการปวดจะเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่มักพบบ่อยในช่วงวัยทำงานและผู้สูงอายุ
- น้ำหนักตัวมาก ในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก ส่งผลให้กระดูกสันหลังรับน้ำหนักมากกว่าปกติ จึงเกิดการเสื่อมได้ง่าย
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต สำหรับคนทำงานที่ต้องยกของหนักหรือออกแรงมากๆ ก้มเงย บิดหลังเป็นประจำ จะทำให้กระดูกสันหลังอักเสบ ปูด รวมถึงคนที่ทำงานออฟฟิศ ถ้านั่งอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานานๆ และนั่งผิดวิธี ก็อาจทำให้กล้ามเนื้อเกร็งเป็นระยะเวลานาน และทำให้เกิดอาการปวดได้
- ไม่ออกกำลังกาย สำหรับคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายเลย อาจทำให้กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังไม่แข็งแรง น้ำหนักมากแต่กระดูกไม่สามารถรับน้ำหนักได้ไหว
พฤติกรรมเสี่ยง ที่ทำให้วัยรุ่นมีอาการปวด
- ใส่รองเท้าส้นสูงนานๆ หากติดต่อกันนาน ไม่พักบ้าง จะเกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง นั่นคือความเสี่ยงที่ทำให้เกิดกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทเมื่ออายุมากขึ้นได้
- นั่งก้มคอทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน จะรู้สึกปวดเมื่อยสะบักหัวไหล่ทั้ง 2 ข้าง เหมือนมีคนเอามือมากดแรงๆ ที่หัวไหล่ ลามไปจนถึงปวดหลัง เนื่องจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเกิดอาการล้า
- ปรับเก้าอี้ไม่ตรงกับระดับหน้าจอ จนต้องก้มหรือเงยคอตลอดเวลา ทำให้กระดูกก้านคอเสื่อม หรือกระดูกสันหลังเสื่อมได้ ควรพักสายตาด้วยการลุกจากเก้าอี้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ วางจอคอมพิวเตอร์ในระดับที่เหมาะกับสายตา
- นั่งหลังงอ การนั่งหลังงอในท่าเดิมเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็ง เกิดอาการปวดเมื่อยที่บริเวณหัวไหล่ และสะโพกขึ้นได้ ควรพยายามฝึกตัวเองนั่งหลังตรงให้เป็นนิสัย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหากระดูกสันหลัง
- นั่งไขว่ห้าง การนั่งไขว่ห้างจะทำให้มีการกดทับน้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง ส่งผลให้เกิดอาการชา ปวดเมื่อย และส่งผลให้กระดูกคด และโค้งงอที่หลังได้ และยังทำให้ปวดหลังระยะยาว
- สะพายกระเป๋าที่หนักในท่าเดิมๆ หากกระเป๋ามีน้ำหนักมากหัวไหล่รับน้ำหนักข้างเดียว กระดูกรับน้ำหนักมาก จึงเป็นการทำลายกระดูกได้อย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว
- การนอนในท่าที่ผิด เช่น นอนคว่ำ นอนขดตัว การนอนแบบกึ่งนั่งกึ่งนอน ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบและปวดกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่ขึ้นมาได้ รวมถึงสามารถทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างจากการนอนผิดท่าได้อีกด้วย
การรักษาอาการปวดทั้งหลาย ต้องรักษาที่ต้นเหตุ
หากเกิดอาการปวดหลัง ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุ แพทย์จะทำการตรวจ วินิจฉัยพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น โดยดูจากลักษณะการปวด และระยะเวลาที่ปวด ทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมกับการตรวจทางเทคนิคด้วยเครื่องมือต่างๆ เมื่อได้ผลการตรวจที่ครบถ้วนแล้ว ก็จะวินิจฉัยและให้การรักษาที่ตรงจุดต่อไป โดยจะเน้นการ
การรักษาอาการปวดด้วยตนเอง
- กรณีปวดหลังมาก ให้นอนหงายบนพื้น แล้วใช้เท้าพาดบนเก้าอี้ เข่างอเป็นมุมฉาก อาการปวดจะทุเลาลง
- กรณีที่กล้ามเนื้อหลังมีการอักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน) ให้ประคบเย็น 20 - 30 นาที/ครั้ง, 2 - 3 ครั้ง/วัน
- กรณีที่ไม่มีอาการอักเสบ ให้ประคบร้อนบริเวณที่ปวดหรือเกร็ง 20 - 30 นาที/ครั้ง วันละ 2 - 3 ครั้ง
- ยืดกล้ามเนื้อ และออกกำลังกายกล้ามเนื้อสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว และแข็งแรงอยู่เสมอ
- การปรับพฤติกรรม
- ปรับอิริยาบถท่านอน นั่ง ยืน เดิน ในท่าทางที่เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน
- หากอาการปวดไม่ทุเลา มีอาการชา หรือมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อร่วมด้วย ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
- ทานยาที่ได้รับจากแพทย์เฉพาะทาง
- การทำกายภาพบำบัด
- การฉีดสเตียรอยด์แพทย์จะใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่อวิธีที่หนึ่งไม่สามารถรักษาอาการปวดหลังให้หายขาดได้ หรือคนไข้มีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง ที่ส่งผลให้เกิดอาการอื่นๆ ตามมา เช่น ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ขาอ่อนแรง เดินไม่ได้ เป็นต้น
- วิธีการผ่าตัดโดยแพทย์เฉพาะทาง จะขึ้นอยู่กับลักษณะอาการและสาเหตุ
อาการปวดแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์
สนับสนุนข้อมูลโดย : ศ.นพ. พิบูลย์ อิทธิระวิวงศ์ แพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมกระดูกและข้อ
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์ศัลยกรรมกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อเข่า ข้อไหล่ และสะโพก โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745 ต่อ ศูนย์ศัลยกรรมกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อเข่า ข้อไหล่ และสะโพก