Covid-19 หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
BUNG WEED เว็บ ขายกัญชา อัดแท่งยอดนิยม จัดส่งเร็วไว ด้านใน 2 วัน ผลิตภัณฑ์ยอดฮิต เกรดพรีเมี่ยม ราคาขายส่ง มีให้เลือกทดลอง ทุกขนาด ทุกราคา ไม่ว่าจะเป็น 1 ขีด, ครึ่งโล, 1 มุม รวมทั้ง 1 โล ทางพวกเราก็สะสมคลังที่เอาไว้สำหรับเก็บสินค้าชั้นหนึ่ง มาไว้ให้สหายๆแล้วที่นี้ BUNG WEED เว็บไซต์ขายกัญชา ชั้น 1 ในไทย ที่มียอดสั่งซื้อเยอะที่สุดในตอนนี้
กัญชาอัดแท่ง ชั้น 1 จัดส่งเร็วไว บริการ 1 วัน
กัญชาอัดแท่ง ชั้น 1 ยอดจำหน่ายสูงที่สุดในไทย พร้อมจัดส่งเร็วทันใจ ทางพวกเราได้ใช้ส่วนดอกในการอัด กัญชาเกรดพรีเมี่ยม THC สูง BUNGWEED เปิดให้บริการแล้วตลอด 1 วัน พวกเรามีผลิตภัณฑ์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น กัญชาอัดแท่ง, กัญชาเส้นด้ายแดง ผลิตภัณฑ์ยอดฮิต กลิ่นหอมสดชื่น ละมุน สั่งซื้อได้อย่างไม่ยากเย็นสบายอีกทั้งบนมือ BUNG WEED เว็บไซต์ขายกัญชา ยอดฮิต สั่งซื้อวันนี้มีโปรโมชั่นอีกเพียบเลย สั่งก่อนปลายปีนี้ ได้ในทันทีทันใดราคาพิเศษ เพื่อนพ้องที่กำลังมองหาทางซื้อกัญออนไลน์ สามารถสั่งซื้อได้แล้ววันนี้ ผ่านไลน์ และจากนั้นก็ เว็บ สบายทุกช่อง ทางรองรับทุกระบบ แบงค์และจากนั้นก็ ทรูวอเลท
ติดตามรายงานพื้นที่ที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่ที่ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไป
ในสถานที่คนแออัดความสำคัญ (ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 12.00 น.)
ประเทศจีน มาเก๊า ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อิตาลี อิหร่าน
ภายใน 14 วัน หลังเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาด
หากมีไข้ ร่วมกับอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ
ควรรีบพบแพทย์ทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทางให้เจ้าหน้าที่ทราบ
Covid-19 หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
- การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เริ่มจากเมืองอู่ฮั่น ในประเทศจีน และต่อมาระบาดไปอีกหลายเมือง ปัจจุบันพบผู้ป่วยติดเชื้อในหลายประเทศ
- ขณะนี้แนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ตามประกาศของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ระงับเที่ยวบินเข้าออกจากเมืองอู่ฮั่นตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2563 และขยายเวลาถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 และเลื่อนการเดินทางที่ไม่จำเป็นไปพื้นที่ที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง
- ภายใน 14 วัน หลังเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาด หากมีไข้ ร่วมกับอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพบแพทย์ทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทางให้เจ้าหน้าที่ทราบ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คือ
- เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มโคโรนา ที่ทำให้มีไข้ และอาการระบบทางเดินหายใจ โดยส่วนใหญ่จะมีอาการ ไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจหอบเหนื่อย และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
- เชื้อสามารถติดต่อจากคนสู่คน ผ่านทางการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย และแพร่กระจายผ่านละอองเสมหะทางการไอจามของผู้ที่มีเชื้อ
Q&A ข้อแนะนำ “รู้ทัน-ป้องกัน Covid-19 หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019”
Q : โรงพยาบาลมีบริการตรวจ Covid-19 หรือไม่
A : โรงพยาบาลมีบริการตรวจหาเชื้อ Covid-19 เบื้องต้น สำหรับกลุ่มเสี่ยงโรค หากมีอาการอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ดังนี้
- ท่านมีอาการ ดังต่อไปนี้หรือไม่ อาการไข้ ร่วมกับมีอาการระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ
- มีประวัติการเดินทางจากประเทศจีน มาเก๊า ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อิตาลี อิหร่าน ภายใน 14 วันที่ผ่านมานี้หรือไม่
- เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพสัมผัสใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวที่มาจากพื้นที่ที่ระบาดอย่างต่อเนื่อง หรือบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ สัมผัสกับผู้ป่วยหรือไม่
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Q : ถ้าไม่มีอาการ มาตรวจได้หรือไม่หากพึ่งกลับจากพื้นที่เสี่ยง
A : หากท่านผู้ใช้บริการ ยังไม่มีอาการแสดง โปรดปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
- อยู่ที่บ้าน รายงานตัวและจำกัดคนเยี่ยม
- สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
- ปิดฝาชักโครกทุกครั้งที่กดล้าง ลดการฟุ้งกระจายของไวรัส
- ไอและจามใส่กระดาษทิชชู่
- ล้างมือและสบู่หรือเจลล้างมือทันทีที่ทิ้งทิชชู่
- เปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท
- งดรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น และแยกของใช้ส่วนตัว
- ล้างจานด้วยน้ำยาล้างจานก่อนใช้เสมอ
- ยืนห่างจากผู้อื่นมากกว่า 1 เมตร เพื่อป้องกันการกระจายของละอองฝอยกระจาย
- หากต้องออกจากบ้านไม่ควรใช้รถโดยสารสาธารณะ
- หากเริ่มมีอาการมีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก ภายใน 14 วันหลังจากไปพื้นที่ระบาดที่ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการควรรีบมาพบแพทย์
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Q : ถ้าสงสัยว่าติดเชื้อต้องทำอย่างไร
A : โปรดสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ รีบมาพบแพทย์ และแจ้งข้อมูล เช่น อาการป่วย วันที่เริ่มมีอาการป่วย วันเดินทางมาถึงประเทศไทย สถานที่พัก เป็นต้น
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Q : กลุ่มเสี่ยงอะไรบ้าง ที่ควรกักตัวเพื่อรอดูอาการ
A : ผู้ที่ควรกักตัว มี 3 กลุ่ม ดังนี้
- ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) คือ มีไข้ (อุณหภูมิ 37.5 องศาเซลเซียส / อาการทางเดินหายใจ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อย หรือ หายใจลำบาก) / เป็นคนที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงและเฝ้าระวังของกระทรวงสาธารณสุข
- ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง หมายถึง คนที่ทำกิจกรรมร่วมกับผู้ป่วยยืนยันหรือผู้ป่วยเข้าข่าย ได้แก่ คนในครอบครัวที่อยู่ในบ้านเดียวกันหรือดูแลตอนที่ป่วย คนที่นั่งเครื่องบินหรือรถโดยสารร่วมกับผู้ป่วยยืนยันหรือเข้าข่าย คนในชุมชนเดียวกันที่สัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยยืนยันหรือเข้าข่าย (สารคัดหลั่ง - น้ำมูก น้ำลาย ของเหลวที่ไดนไอ จามใส่)
- บุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ใส่ PPE ตามมาตรฐาน PPE คือ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Q : จะทำอย่างไร ถ้ากลับมาจากพื้นที่เสี่ยงแล้วต้องกักตัว
A : การปฏิบัติตัวระหว่างการแยกสังเกตอาการที่บ้าน/ ที่พัก เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
- ให้หยุดการเข้าเรียน และงดเข้าร่วมกิจกรรมของสถานศึกษาที่มีการรวมคนจำนวนมาก นักเรียน/นักศึกษาที่เดินทางกลับมา ควรนอนแยกห้อง ไม่ออกนอกบ้าน ไม่เดินทางไปที่ชุมชนหรือที่สาธารณะอย่างน้อย 14 วัน นับจากวันเดินทางกลับจากพื้นที่ระบาดมาถึงประเทศไทย
- รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น อาจรับประทานอาหารร่วมกันได้ แต่ต้องใช้ช้อนกลางทุกครั้ง
- ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ โทรศัพท์ ร่วมกับผู้อื่น
- ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาที กรณีไม่มีน้ำและสบู่ ให้ลูบมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นอย่างน้อย 60%
- สวมหน้ากากอนามัย และอยู่ห่างจากคนอื่นๆ ในบ้านประมาณ 1-2 เมตร
- หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดบุคคลอื่นในที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ
- การทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ให้ใช้วิธีพับ ม้วน ใส่ถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งลงในถังขยะที่มีฝา
- ปิดมิดชิด และทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำและสบู่ทันที
- ปิดปากจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอจาม โดยปิดถึงคาง แล้วทิ้งทิชชู่ลงในถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิท
- ก่อนทิ้ง หรือ ใช้แขนเสื้อปิดปากจมูกเมื่อไอหรือจาม และ ทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือล้างมือด้วย น้ำและสบู่ทันที
- ทำความสะอาดบริเวณที่พักของนักเรียน/นักศึกษา เช่น เตียง โต๊ะ บริเวณของใช้รอบๆ ตัวของผู้ป่วย รวมถึงห้องน้ำด้วยน้ำยาฟอกขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์(น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำ 99 ส่วน) ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ฯลฯ ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกธรรมดาและน้ำ หรือซักผ้าด้วยน้ำร้อนที่ · อุณหภูมิน้ำ 60-90 °C
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Q : จะทำอย่างไร หากต้องอาศัยร่วมกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงอยู่อาศัยร่วมบ้าน และวิธีทำลายเชื้อ
A : การปฏิบัติตัวของผู้อยู่อาศัยร่วมบ้าน และวิธีการทำลายเชื้อในสิ่งแวดล้อมในบ้าน
- ทุกคนในบ้านควรล้างมือบ่อยครั้ง เพื่อลดการรับและแพร่เชื้อ โดยใช้น้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาที
- กรณีไม่ มีน้ำและสบู่ ให้ลูบมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นอย่างน้อย 70%
- เฝ้าระวังอาการเจ็บป่วยของผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือสมาชิกคนอื่นในบ้าน เป็นเวลา 14 วัน หลังสัมผัสกับผู้ป่วย
- นอนแยกห้องกับผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่ระบาด
- อาจรับประทานอาหารร่วมกันได้ แต่ต้องใช้ช้อนกลางทุกครั้ง
- ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้เดินทางกลับ
- หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดในระยะ 1 - 2 เมตร กับนักเรียน/นักศึกษาที่กลับมาจากพื้นที่ระบาด
- ทำความสะอาดบริเวณที่พักของนักเรียน/นักศึกษา เช่น เตียง โต๊ะ บริเวณของใช้รอบๆ ตัวของผู้ป่วย รวมถึงห้องน้ำด้วยน้ำยาฟอกขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำ 99 ส่วน) ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ฯลฯ ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกธรรมดาและน้ำ หรือซักผ้าด้วยน้ำ ร้อนที่อุณหภูมิน้ำ 60 - 90 °C
- หากมีแม่บ้านทำความสะอาดหอพักของนักศึกษา/นักศึกษาที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่ระบาด แนะนำให้ใส่ชุดป้องกันร่างกาย ได้แก่ หน้ากากอนามัย หมวกคลุมผม แว่นตากันลม ถุงมือยาว รองเท้าบูท และผ้ากัน เปื้อนพลาสติก
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Q : กักตัวและสังเกตอาการต้องทำอย่างไร
A : สังเกตอาการไข้และอาการระบบทางเดินหายใจ กรณีมีปรอทวัดไข้แนะนำให้วัดอุณหภูมิร่างกายทุกวัน ช่วงเช้าและเย็น
- อาการไข้ ได้แก่
- วัดอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือ
- มีอาการสงสัยว่ามีไข้ ได้แก่ ตัวร้อน ปวดเนื้อปวดตัว หนาวสั่น
- อาการระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ น้ำมูก จาม เจ็บคอ หายใจเหนื่อย หรือ หายใจลำบาก
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Q : ถ้าต้องเดินทางไปไหนมาไหนในระยะนี้ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
A : วิธีการเตรียมพร้อมในทุกการเดินทาง ป้องกัน Covid - 19
- ดูแลร่างกายให้แข็งแรง หมั่นออกกำลังกายและกินอาหารถูกสุขลักษณะ
- ของต้องมีติดประเป๋า หน้ากากอนามัยและแอลกอฮอล์เจลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกการเดินทาง
- สังเกตตัวเองและคนรอบข้าง หากรู้ว่าตัวเองหรือเห็นคนรอบข้าง มีอาการป่วยให้สวมหน้ากากอนามัยทันที
- ภารกิจหลังเดินทาง หลังเดินทางหลังกลับถึงประเทศไทยภายใน 14 วัน ถ้ามีอาการไข้ ไอเจ็บคอ มีน้ำมูกหายใจ เหนื่อยหอบ ให้สวมหน้ากากอนามัยและรีบไปพบแพทย์
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Q : ในช่วงนี้ มีสิ่งใดที่ควรทำและไม่ควรทำบ้าง
A : สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ มีดังนี้
- สิ่งที่ควรทำ
- ล้างมือ สม่ำเสมอ
- สวมหน้ากากอนามัย
- หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด
- ถ้าต้องไปตลาดค้าสัตว์ต้องสวมหน้ากากอนามัย
- สิ่งที่ไม่ควรทำ
- ไม่สัมผัสสัตว์ป่วยหรือตาย
- ไม่นำมือสัมผัสหู ตา จมูก ปากโดยไม่จำเป็น
- ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Q : ถ้าตรวจแล้วพบโรค จะทำอย่างไร
A : เมื่อโรงพยาบาลฯ ตรวจคัดกรองและตรวจหาเชื้อโรค COVID-19 ในระดับเบื้องต้นตามมาตรฐานแล้ว จะทราบผลภายใน 2 วัน หากการวินิจฉัยพบเชื้อ COVID-19 ทางโรงพยาบาลจะส่งตัวผู้ป่วยไปรักษาต่อยังโรงพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดต่อไป
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index_more.php
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745