รู้ทัน “โรคตับ” ก่อนนำไปสู่มะเร็งร้ายแบบไม่รู้ตัว
ข้อมูลโรคตับในประเทศไทย ที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษ ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรังชนิดบีหรือซี, ภาวะไขมันพอกตับ, ภาวะตับอักเสบจากการดื่มเหล้า เพราะหากมีภาวะตับอักเสบนานๆ ตับจะเริ่มมีพังผืดจนในที่สุดพัฒนากลายเป็นตับแข็ง ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคต่างๆตามมาอีกมากมาย โดยเฉพาะสิ่งที่เรากลัวที่สุดคือ โรคมะเร็งตับ
ใครบ้างเสี่ยง “โรคตับ” ที่ไม่ควรละเลย
- ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซี
- ผู้ที่ตรวจพบไขมันพอกตับ หรือมีภาวะอ้วนลงพุง
- ผู้ที่มีประวัติการดื่มสุรา เป็นระยะเวลานาน
- มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งตับ
- ผลตรวจพบภาวะตับอักเสบหรือพบความผิดปกติ
โรคตับ สามารถป้องกันและรักษาได้หากตรวจพบแต่เนิ่นๆ เพราะภาวะตับอักเสบในระยะแรกๆ จะยังไม่ออกอาการชัดเจน ส่วนใหญ่อาการมักชัดเจนในกลุ่มผู้ป่วยที่ตับแข็งมากแล้ว ซึ่งอาจมาด้วยอาการ ตาเหลือง ตัวเหลือง ท้องบวม ขาบวม หรือผู้ป่วยบางราย อาจตรวจพบเป็น มะเร็งตับ เลย
ห่างไกลโรคตับ ต้องทำอย่างไร...
หากมีความเสี่ยงควรมาพบแพทย์ เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจเลือด เพื่อประเมินการทำงานของตับ ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางเลือกใหม่สำหรับการตรวจตับ คือ ไฟโบรสแกน (FibroScan) เพื่อคัดกรองผู้ป่วยที่เริ่มมีภาวะพังผืดในตับ สามารถตรวจได้ตั้งแต่ในระยะก่อนตับแข็ง ซึ่งหากเราตรวจพบพังผืดในตับ แพทย์สามารถรักษาได้ทันท่วงที และวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนการตรวจตับด้วย ไฟโบรสแกน (FibroScan)
- แพทย์จะใช้หัวตรวจขนาดเล็กเท่าปลายปากกา คล้ายหัวอัลตร้าซาวด์ตรวจบริเวณซี่โครงด้านขวา
- ทำงานโดยหลักการปล่อยคลื่นความถี่ต่ำเข้าไปในตับแล้ววัดคลื่นที่สะท้อนกลับ
- จากนั้นเครื่องจะประมวลผล เป็นค่าความแข็งเนื้อตับ หรือค่าพังผืดของตับ และสามารถตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับได้ด้วย
- ใช้เวลาตรวจประมาณ 5-10 นาที
- ผู้ป่วย ไม่เจ็บ ไม่มีแผล และสามารถทราบผลได้ทันทีหลังทำ
“BPK9 Family” เพราะคุณคือครอบครัวของเรา
สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ.นนทพรรธน์ กันตถาวร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745