รู้ได้ไง...ว่ากระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน คือ การสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก โดยมีการเสื่อมสลายของโครงสร้างภายใน เกิดจากความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง ทำให้กระดูกเปราะบาง และมีความแข็งแรงน้อยลง ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงกระดูกแตกหักได้ง่าย
คุณเสี่ยงกระดูกพรุน...หรือไม่ ?
- ผู้หญิงเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน
- ผู้หญิงที่เคยได้รับการผ่าตัดรังไข่ออกทั้งสองข้างก่อนหมดประจำเดือน
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
- ใช้ยาสเตียรอยด์ ยารักษามะเร็ง เป็นเวลานาน
- ผู้ที่เคยมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือคนในครอบครัวหกล้มแล้วมีกระดูกหัก
ตรวจเช็ค...ให้ชัวร์
ปัจจุบันสามารถตรวจความหนาแน่นของกระดูก Bone Mineral Density หรือ BMD เพื่อให้ทราบว่า ภาวะมวลกระดูกอยู่ในเกณฑ์ใด โดยเฉพาะผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุกปี เพราะ การป้องกันที่ดีมากที่สุด คือ การตรวจพบให้เร็วที่สุด
สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ.กลยุทธ ตัณนิติศุภวงษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ.กลยุทธ ตัณนิติศุภวงษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 1745