Bangpakok Hospital
  • A
  • A
  • A
BPK Hotline

ล้างสารพิษด้วยการทำ“คีเลชั่น”

12 พ.ย. 2558

                                  
   “คีเลชั่นบำบัด” คือ การขจัดของเสียออกจากร่างกาย โดยผ่านกระบวนการต่างๆที่แพทย์แนะนำ ให้ใช้ตามความเหมาะสม เช่น ผ่านการกิน (DMSA), ผ่านการเหน็บก้น และการให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ สารประกอบทางเคมีที่ให้เป็นประเภท กรดอะมิโนที่เรียกว่า EDTA ผสมกับวิตามินและแร่ธาตุ ซึ่ง EDTA ทำหน้าที่สำคัญในการจับสารโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท สารหนู หรือแม้แต่แคลเซียมส่วนเกินซึ่งสะสมตกค้างในเนื้อเยื่อ และพอกอยู่ตามผนังหลอดเลือดของเรา แล้วขจัดสารโลหะหนักเหล่านี้ออกผ่านระบบปัสสาวะ ระยะเวลาในการให้น้ำเกลือสามารถพักผ่อน ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือหรือฟังเพลงได้ปกติ ภายหลังเสร็จการรักษาสามารถประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิม
ผลลัพธ์โดยตรงหลังจากที่ทำคีเลชั่นบำบัด
   คือ กำจัดตะกรันของแคลเซียม โลหะหนักและหยุดยั้งกระบวนการทำงานของเอนไซน์บางชนิด เช่น เอนไซน์ชนิดที่ควบคุมการรวมตัวระหว่างออกซิเจนกับไขมัน (Lipid per-oxidation), ขจัดสารพิษตกค้างในร่างกายและระบบหลอดเลือด, ลดอัตราเสี่ยงของหลอดเลือดแข็งอุดตันและตีบแคบซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจขาดเลือด, ป้องกันโรคความเสื่อมต่างๆที่เกิดขึ้นจากระบบหมุนเวียนเลือดที่ไม่ดี

คีเลชั่นเหมาะกับคุณหรือไม่
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการอุดตันของหลอดเลือด เช่น อุดฟันด้วยโลหะอมัลกัม มีไขมันในเลือดสูง มี Oxidative stress (ระดับอนุมูลอิสระสูง) เช่น ดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือคนใกล้ตัวสูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีปัญหาพิษโลหะสะสม และปัญหาสารพิษอื่นๆ สะสมในร่างกาย
  • ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ การไหลเวียนเลือดบกพร่อง มีอาการ เช่น เวียนหัวง่าย ฯลฯ
  • ผู้ที่มีปัญหาโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากหลอดเลือดไม่ยืดหยุ่น
  • ผู้ที่แข็งแรงดี แต่ต้องการป้องกันตนเองจากโรคเส้นเลือดตีบตัน รวมทั้งต้องการกำจัดสารพิษ และโลหะหนักออกจากร่างกาย และต้องการรักษาสภาพของเส้นเลือดทั่วตัว ผู้ที่ไปทำบอลลูนเส้นเลือด ใส่ขดลวด ทำบายพาสมาแล้ว เพราะอาจจะเกิดการอุดตันได้อีก
ต้องการทำคีเลชั่นควรเริ่มต้นอย่างไร
  • ตรวจวิเคราะห์เม็ดเลือด (Live blood analysis): แพทย์จะทำการตรวจวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกร็ดเลือด สิ่งแวดล้อม (โลหะหนัก) ในกระแสเลือดและความบกพร่องของลำไส้เล็ก
  • ตรวจเลือดดูค่าการทำงานของไต
  • ตรวจปัสสาวะ :  ตรวจหาปริมาณโลหะหนักในร่างกาย เช่น สารหนู ปรอท ตะกั่ว แคดเมี่ยม หรือนิคเกิล
  • ตรวจสารโลหะหนักในเนื้อเยื่อ : หากพบว่าปัสสาวะให้ผลไม่เกินค่าปกติ แนะนำให้ทำ ทดสอบทำคีเลชั่นว่ามีปริมาณสารโลหะหนักในเนื้อเยื่ออีกหรือไม่ ซึ่งผลการทดสอบจะให้ค่าออกมาในสองลักษณะ
  “ผลการตรวจปัสสาวะให้ค่าลดลงกว่าครั้งแรก หมายความว่าในร่างกายมีค่าสารโลหะหนักไม่เกินค่าปกติ หรือผลการตรวจปัสสาวะให้ค่ามากขึ้นกว่าการตรวจปัสสาวะครั้งแรก หมายความว่า ร่างกายมีปริมาณโลหะหนักในเนื้อเยื่อในระดับที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ทำคีเลชั่นบำบัด (สารพิษมักสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อไขมัน)”

สนับสนุนข้อมูลโดย 

นพ.สัมพันธุ์ ธนกิจจำรูญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล โทรศัพท์ 1745 

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.