Bangpakok Hospital
  • A
  • A
  • A
BPK Hotline

วัณโรค..รู้ทัน..ป้องกันได้

9 ต.ค. 2563

BUNG WEED เว็บไซต์ขายกัญชาอัดแท่งยอดฮิต จัดส่งเร็ว ข้างใน วัน สินค้ายอดนิยม เกรดพรีเมี่ยม ราคาส่ง มีให้เลือกทดสอบ ทุกขนาด ทุกราคา ไม่ว่าจะเป็น ขีดครึ่งโล, 1 มุม แล้วก็ โล ทางเราก็สะสมคลังที่เอาไว้เก็บสินค้าชั้นหนึ่ง มาไว้ให้เพื่อนเกลอแล้วที่นี้ BUNG WEED เว็บขายกัญชา ชั้น ในไทย ที่มียอดสั่งซื้อสูงที่สุดในขณะนี้

  วัณโรคเป็นหนึ่งในโรคที่คุ้นหูคนไทยแต่ก็ยังมีคนอีกมากที่ไม่ทราบว่า วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่อันตรายและน่ากลัวมากแค่ไหน แต่วัณโรคก็ไม่ใช่โรคที่สกปรกหรือน่ารังเกียจเพราะเป็นโรคท้องถิ่นที่พบได้โดยทั่วไปในประเทศไทย เป็นโรคที่ทุกคนไม่ว่าใครก็สามารถเป็นได้เหมือนกัน แต่ก็สามารถรักษาให้หายได้เช่นกัน

มาทำความรู้จักวัณโรค..!!

   เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีชื่อว่า ไมโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis)  ถ้าแบคทีเรียเกาะติดกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายและเพิ่มจำวนขึ้นแล้ว ร่างกายไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ คนๆ นั้นก็จะเป็นวัณโรค และบริเวณที่ติดเชื้อวัณโรคบ่อยที่สุดก็คือ ปอด แต่ก็สามารถติดเชื้อที่ส่วนอื่นของร่างกายได้เช่นกัน เช่น ในกระดูก ต่อมน้ำเหลือง หรือสมอง
"วัณโรคปอด“ ติดกันอย่างไร..!!
  วัณโรคแพร่เชื้อโดยการไอ จาม ฝอยละอองเสมหะที่ออกมาจากปอดผู้ป่วย จะกระจายอยู่ในอากาศและตกลงสู่พื้น แต่เชื้อวัณโรคจะตายเมื่อถูกแสงแดดซึ่งมีรังสีอัลตราไวโอเลต โดยปกติ 10% ของผู้ที่ได้รับเชื้อจะเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรค และส่วนใหญ่จะเกิดโรคใน 2 ปีแรก ส่วนอีก 90% จะไม่ป่วยเป็นวัณโรค
ระยะของ"วัณโรคปอด"..!!
  • ระยะแฝง (Latent TB)
   เมื่อได้รับเชื้อจะแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายภายใน 2-8 สัปดาห์ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะทำหน้าที่ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อโรค จึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่า ผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง คือมีเชื้ออยู่ในร่างกายแต่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ไม่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ซึ่งส่วนใหญ่ประมาณ 90% ที่เชื้อโรคอาจจะอยู่ในระยะนี้เป็นเวลาหลายสิบปีหรือตลอดทั้งชีวิตเลย โดยไม่แสดงอาการใดๆ แต่จะมี 10% ของวัณโรคระยะแฝงที่รอจังหวะเมื่อร่างกายเราอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถกำจัดหรือควบคุมเชื้อได้ เชื้อวัณโรคจะแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงก็จะกลายเป็นผู้ป่วยวัณโรค แต่หากผู้ป่วยมีการตรวจพบเจอเชื้อในช่วงระยะแฝง แพทย์อาจให้เข้ารับการรักษาและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ
  • ระยะแสดงอาการ (Active TB)
   เป็นระยะที่เชื้อได้รับการกระตุ้นจนเกิดอาการต่างๆ ซึ่งมีเพียง 10% ของผู้ที่ได้รับเชื้อเท่านั้น โดย 5% จะป่วยเป็นวัณโรคภายใน 2 ปี ส่วนอีก 5% จะป่วยเป็นวัณโรคหลังจาก 2 ปีไปแล้ว ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการรักษาก็จะหายขาดจากโรคได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยร้อยละ 50 - 65 จะเสียชีวิตภายใน 5 ปี

ใครบ้างที่เสี่ยง..!!

  • คนที่ภูมิต้านทานไม่ดีหรือภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น คนไข้ที่ได้รับเคมีบำบัดหรือผู้ป่วยเอดส์
  • คนขาดสารอาหารหรือโภชนาการไม่ดี ผอม แห้ง อ้วนน้ำหนักเกิน
  • คนที่มีประวัติป่วยเป็นโรคปอด อันนี้จะค่อนข้างเสี่ยงมากเพราะว่า หากได้รับเชื้อก็อาจจะทำให้ทรุดหนักได้ทันที
  • ชอบสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์
  • คนที่อาศัยอยู่ในที่แออัดหรือสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก หรือ คนที่ทำงานในสายอาชีพที่กระตุ้นให้มีโอกาสเกิดวัณโรคได้ง่าย เช่น คนทำเหมืองแร่ คนงานที่ก่อสร้าง อยู่กับหิน กับฝุ่น กับมลพิษ เพราะการใช้ชีวิตแบบนี้จะกระตุ้นให้เกิดวัณโรคได้ง่าย
  • ผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยเช่น แพทย์ พยาบาล หรือญาติที่ดูแลที่อาศัยร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค
  • เด็กทารกหรือผู้สูงอายุ

อาการแบบไหน..รีบพบแพทย์..!!

  • ไข้เรื้อรังต่ำๆ จนอาจไม่ได้สังเกต มักจะเป็นตอนเย็นหรือตอนบ่าย
  • เหงื่อออกมากผิดปกติช่วงกลางคืน
  • อ่อนเพลียเป็นประจำแม้ว่าจะพักผ่อนเพียงพอ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงผิดปกติ
  • ไอติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ อาจเป็นได้ทั้งแบบไอแห้งๆ ไอมีเสมหะ หรือไอมีเสมหะปนเลือด
  • เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ และหายใจติดขัด
  • อาการแทรกซ้อนอาจพบได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในปอดมีน้ำในช่องหุ้มปอด และหากเชื้อแพร่กระจายสู่อวัยวะอื่นๆ ก็จะกลายเป็นวัณโรคของอวัยวะนั้นๆ

การตรวจรักษา

  • หมอก็จะเริ่มจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย
  • “เอ็กซเรย์ปอด” ซึ่งสำหรับการเอกซเรย์ปอดนี้ จะทำให้พอทราบได้เลยว่า คนไข้เป็นวัณโรคมากน้อยแค่ไหน และหลังจากการเอ็กซเรย์แล้วหากพบว่ามีโอกาสเป็นวัณโรค
  • “การเก็บเสมหะ” เพื่อนำมาตรวจพิสูจน์ว่าเป็นวัณโรคชัวร์หรือไม่?

ขั้นตอนของการรักษา..!!

  • ให้ยารักษาวัณโรคใช้เวลาในการรักษา 6 - 8 เดือน กินยาจนครบไม่หยุดยาเอง หากมีอาการแพ้ยาควรรีบปรึกษาแพทย์
  • ให้การรักษาไปตามอาการเช่น ยาแก้ไอ ยาลดไข้ ยาบำรุงโลหิต (ถ้าซีด) วิตามินรวม (ถ้าเบื่ออาหาร) เป็นต้น
  • แพทย์จะนัดติดตามอาการและตรวจเสมหะเป็นระยะ

  ถึงแม้วัณโรคจะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่ก็สามารถกลับเป็นซ้ำได้เช่นกัน ดังนั้น เป้าหมายที่สำคัญในการรักษาคือ รักษาให้หายขาดเพื่อตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อและป้องกันการดื้อยาของเชื้อวัณโรค การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ มีบ้างแต่น้อย เช่น รักษาด้วยวิธีผ่าตัด ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีรอยโรคเฉพาะตำแหน่งหรือรับประทานยาแล้วมีผลข้างเคียงสูง

การป้องกัน..!!

  • ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และทานอาหารที่มีประโยชน์
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคในระยะแสดงอาการ เพราะอาจได้รับเชื้อได้
  • รับประทานยาป้องกันตามแพทย์สั่งในรายที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงแพทย์อาจสั่งจ่ายยาเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง
  • ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อการได้รับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ ตั้งแต่เด็กจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคได้

สนับสนุนข้อมูลโดย : พญ.วริศรา พิพัฒน์โชติธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคระบบหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.