Bangpakok Hospital
  • A
  • A
  • A
BPK Hotline

โรคขนคุด

13 ก.ค. 2566


อาการโรคขนคุด (Keratosis Pilaris)

   โรคขนคุด (Keratosis Pilaris) เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง ตุ่มอักเสบ และมีสิ่งอุดตันบริเวณรูขุมขนเกิดจากความผิดปกติของการสะสมเคราติน (Keratin) ที่เป็นโปรตีนที่เซลล์ผิวหนังสร้างขึ้นมา ทำให้เกิดการสะสมมากขึ้นทำให้ชั้นผิวมีความหนาตัวมาก จนขนไม่สามารถงอกขึ้นมาทะลุชั้นผิวหนังได้ตามปกติ หรือเกิดจากอาการผิวแห้ง และ พันธุกรรม ซึ่งเกิดจากการที่ชั้นผิวเซลล์นั้นเกิดความผิดปกติ ทำให้เกิดการการอุดตันบริเวณรูขุมขนได้
ขนคุด (Keratosis Pilaris) มักเกิดขึ้นได้บ่อยบริเวณ

  • แขนส่วนบน
  • ต้นขา
  • หลัง
  • ลำตัว
  • แก้ม
  • ก้น

โรคขนคุด (Keratosis Pilaris) อันตรายไหม?
   โรคขนคุดนั้นไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรงหรือส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย จึงไม่ต้องกังวลว่าจะอันตรายหรือกลายเป็นโรคร้ายแรง เพียงแต่จะสร้างความรำคาญ หรืออาจจะเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตได้ถ้าหากไม่รักษา ซึ่งโรคขนคุด สามารถหายได้เองตามช่วงอายุวัยที่มากขึ้น หรือสามารถพบแพทย์เพื่อทำการรักษาได้

โรคขนคุด (Keratosis Pilaris) รักษายังไง?

  • การทาครีมบำรุงเพื่อให้ผิวชุ่มชื้น (ต้องไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม)
  • การเลเซอร์รูขุมขนให้มีขนาดเล็กลง
  • ทากรดที่มีส่วนผสมของวิตามินเอ หรือทำการผลัดผิวด้วยกรดผลไม้ที่ โรงพยาบาลช่วยสลายเคราติน (Keratin) บนผิวหนังให้บางลงได้
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น เพราะการอาบน้ำที่มีอุณหภูมิสูงเป็นระยะเวลานานทำให้ผิวแห้งก่อให้เกิดขนคุดได้
  • ใช้ครีมอาบน้ำที่มีความชุ่มชื้น และหลังจากอาบน้ำควรใช้ครีมบำรุงทาผิวเพื่อให้เกิดความชุ่มชื้น
  • ใช้ครีมที่มีส่วนผสมของ ยูเรีย (Urea) สามารถช่วยสลายเคราติน (Keratin) ให้บางลงได้
Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.