โรคหัวใจ ยิ่งตรวจเจอเร็ว...ยิ่งรักษาได้
ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นกว่า 54,530 คน เฉลี่ยวันละ 150 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน การป้องกันได้ดีที่สุด คือ การตรวจพบให้เร็วที่สุด อ้างอิง : จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2557
คุณเสี่ยงแค่ไหน..??
- อายุ 40 ปีขึ้นไป
- เพศ ผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่ออาการโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิง
- เบาหวาน ภาวะน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
- ความดัน ภาวะความดันโลหิตสูงจะทำให้หลอดเลือดเกิดการตีบ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ออาการหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว หรือภาวะสมองขาดเลือด
- ไขมัน ภาวะไขมันในเลือดสูง คือ ตัวการสำคัญที่จะไปจับตามผนังหลอดเลือด และทำให้หลอดเลือดอุดตัน ยิ่งมีระดับไขมันสูงมากเท่าไหร่ จะเพิ่มโอกาสให้ไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือดมากขึ้นเท่านั้น
- สูบบุหรี่
- พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ เท่ากับมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้มากกว่าคนทั่วไป
สัญญาณเตือนว่าคุณเสี่ยง !! โรคหัวใจ
- เหนื่อยง่าย ใจสั่น หายใจเข้าได้ลำบาก
- มีอาการเจ็บหน้าอกหรือแน่น บริเวณกลางหน้าอก หรือด้านซ้าย หรือทั้ง 2 ด้าน โดยเฉพาะเป็นขณะออกแรง
- ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก หรืออาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึก
- เป็นลมหมดสติ ไม่ทราบสาเหตุ
- ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ
รู้ได้อย่างไร...ว่าเป็นโรคหัวใจหรือไม่ ??
วิธีที่บอกได้ว่า อาการต่างๆ เสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือไม่ คือ การตรวจพบให้เร็วที่สุด เพื่อตรวจเช็คให้แน่ชัดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST) สำหรับผู้ที่ไม่พร้อมในการวิ่งสายพาน จะเป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography)
สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ. อร่ามวงศ์ ทวีลาภ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 1745