โรคหัวใจเกิดขึ้นได้เฉียบพลัน
แต่ละปีมีผู้คนมากมายที่มีอาการหัวใจวายและเสียชีวิตเพราะภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันอาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ตอนไหนก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นโรคหัวใจหรือมีโรคประจำตัวใดๆ สักโรค แต่ถ้ารู้จักอาการหัวใจวายและวิธีการช่วยเหลือก็จะไม่เสียชีวิตเสมอไป
ใครเสี่ยงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน (หัวใจวาย)
- ผู้ที่มีภาวะเบาหวาน ไขมัน ความดันโลหิตสูง
- อ้วนลงพุง
- เครียดง่ายและเครียดบ่อย
- สูบบุหรี่จัดและดื่มแอลกอฮอล์
- ขาดการออกกำลังกาย
- มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- เจ็บแน่นหน้าอกมากกว่าครั้งก่อนๆ โดยเฉพาะตรงกลางอกและเป็นนานเกินกว่าหนึ่งนาทีขึ้นไป
- เจ็บแน่นหน้าอกมากรุนแรงจนเหงื่อออกตามร่างกาย ตัวเย็น
- คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด เป็นลม แน่นหน้าอก
- วิงเวียน หน้ามืด ชีพจรเต้นเร็ว
- เหนื่อยง่าย หายใจหอบ หายใจไม่พอ หายใจสั้นๆ
- กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย
เพราะอาการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หากพบอาการผิดปกติข้างต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที อย่าละเลยหรือปล่อยทิ้งไว้โดยเด็ดขาด
การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่สูง หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มจัด อาหารจานด่วนหรืออาหารสำเร็จรูป ลดเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาล และเน้นการบริโภคผักและผลไม้ให้มากขึ้น
- หยุดสูบบุหรี่
- ลดความเครียด
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ.ประณิธิ สาระยา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร.1745