ไขมันในเลือดสูงทำไมถึงส่งผลต่อหัวใจ
ในชีวิตประจำวัน ปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตคือการรับประทานอาหาร โดยอาหารแต่ละชนิดก็จะมีไขมันที่แตกต่างกันไป หากรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมากเกินไป หรือทานอาหารที่มีไขมันสูงติดต่อกันหลายมื้อ ก็จะทำให้มี “ภาวะไขมันในเลือดสูง” ตามมา และอาจเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง
ภาวะไขมันในเลือดสูง คืออะไร?
ภาวะไขมันในเลือดสูง คือภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ โดยอาจมีความผิดปกติทั้งไขมัน “คอเลสเตอรอล” และ “ไตรกลีเซอไรด์” ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ
ชนิดของไขมัน
-
คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เองจากตับและลำไส้ หรือได้รับจากสารอาหารที่รับประทานเข้าไป จะพบมากในไขมันสัตว์ ปริมาณไขมันขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร คอเลสเตอรอลมีความสำคัญต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์สมอง ซึ่งไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย แต่หากมีไขมันคอเลสเตอรอลมากเกินไปก็จะเป็นโทษต่อร่างกายเช่นกัน คอเลสเตอรอลมี 2 ชนิด คือ
- High-Density Lipoprotein (HDL) เป็นไขมันความหนาแน่นต่ำ “ไม่ดี” มาจากไขมันสัตว์ ถ้าไขมันชนิดนี้สูงจะไปเกาะบริเวณผนังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดหลอดเลือดตีบ หรือหลอดเลือดอุดตันได้
- Low-Density Lipoprotein (LDL) เป็นไขมันหนาแน่นสูง “ดี” ทำหน้าที่จับไขมันคอเลสเตอรอลออกไปทำลายที่ตับ คอยช่วยไม่ให้เกิดการเกาะตัวของไขมันในบริเวณผนังหลอดเลือด ไม่ให้เกิดเส้นเลือดตีบหรือหลอดเลือดอุดตันได้
-
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเองจากการรับประทานแป้งหรือน้ำตาล เป็นไขมันที่ทำให้รู้สึกอิ่ม นอกจากนี้ร่างกายยังเก็บสะสมไตรกลีเซอไรด์ไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ แต่หากมีไตรกลีเซอไรด์มากจะส่งผลให้เกิดหลอดเลือดตีบ หรืออุดตันได้
ปัจจัยเสี่ยง ไขมันในเลือดสูง
- ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้มีความบกพร่องในการเผาผลาญไขมัน
- ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ภาวะขาดไทรอยด์ ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
- ผลจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ สเตียรอยด์
- การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ จำพวกอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันสัตว์ เครื่องในสัตว์ เนย ไข่ เป็นต้น
- มีภาวะเครียด และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
ไขมันในเลือดสูงส่งผลต่อหัวใจได้อย่างไร
โดยปกติเมื่อเราทานอาหารที่มีไขมันเข้าไปในร่างกาย ร่ายกายจะมีการนำไขมันไปใช้เป็นพลังงาน แต่เมื่อมีไขมันมากเกิน ไขมันก็จะไปเกาะตามบริเวณหลอดเลือดด้านใน ทำให้หลอดเลือดเกิดการตีบและเข็งตัวได้ เลือดมีการไหลเวียนไม่สะดวกส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอทำให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดได้
ลักษณะอาการโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด
- แน่นหน้าอก นานกว่าครั้งก่อนๆ หรือนานกว่า 20 นาที
- เหงื่อออก ตัวเย็น
- คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด เป็นลม
- ปวดจุกท้อง บริเวณลิ้นปี่ หรือปวดร้าวขึ้นไปที่กรามหรือไหล่โดยเฉพาะไหล่ซ้าย
- หายใจหอบ หายใจไม่พอ หายใจสั้น
และเมื่อร่างกายมีภาวะไขมันในเลือดสูงยังก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนและโรคอื่นๆได้
ภาวะแทรกซ้อนและโรคอื่นๆ เช่น
- โรคหลอดเลือดสมองตีบ
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
- หัวใจวาย
- โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
อาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ
ตัวอย่างเช่น
- ผัก ผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี
- อาหารที่อุดมด้วยโปรตีน โดยเฉพาะปลาและอาหารทะเล พืชตระกูลถั่วและเมล็ดพืช ไข่และไก่ที่ไม่ติดมัน หากเลือกเนื้อแดง ให้แน่ใจว่าเป็นเนื้อไม่ติดมันและจำกัดการกินไว้ที่หนึ่งถึงสามครั้งต่อสัปดาห์
- นมจืด โยเกิร์ต และชีส ประเภทไขมันต่ำ
- ไขมันและน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่นจากถั่ว อะโวคาโด น้ำมันมะกอก เป็นต้น
- อาจใช้สมุนไพรและเครื่องเทศปรุงแต่งรสอาหารแทนการเติมเกลือ เป็นต้น
การป้องเพื่อลดโอกาสเสี่ยงไขมันในเลือดสูง
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์
- การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์งดของที่มีไขมันสูง
- ตรวจสุขภาพประจำปี จะช่วยให้สามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคได้
- งดสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้ HDL ในเลือดต่ำลง เพราะบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
- งดดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำให้เกิดการสะสมไขมันตามเนื้อเยื่อ
ผู้ที่ควรตรวจระดับไขมันในเลือด
การที่รู้ว่า ไขมันในเลือดของเรานั้นอยู่ในระดับใด เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะไม่ใช่ไขมันทุกชนิดที่จะเป็นโทษต่อร่างกาย ฉะนั้น “การตรวจสุขภาพ” เพื่อให้ทราบปริมาณไขมันแต่ละชนิดอย่างสม่ำเสมอ ช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงได้
โดยผู้ที่ควรตรวจระดับไขมันในเลือด ได้แก่
- ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
- ผู้ที่มีน้ำหนักมาก
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
- ผู้ที่สูบบุหรี่
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์
ดังนั้น หากใครที่มีความกังวล มีอาการหรือพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไขมันในเลือดสูง อย่านิ่งนอนใจ อาจเสี่ยงเป็นโรคต่างๆที่ส่งผลต่อหัวใจได้ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวิจัยและทำการรักษาที่ถูกต้องต่อไป เพราะเรื่องสุขภาพรอไม่ได้
สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ.วิจารณ์ เทวธารานันท์ แพทย์เฉพาะทางอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745 ต่อ