Bangpakok Hospital
  • A
  • A
  • A
BPK Hotline

วิธีจัดการกับอารมณ์ผู้หญิง ช่วงมีประจำเดือน

30 ม.ค. 2566


   อาการหงุดหงิดซึมเศร้า เหวี่ยงวีนง่ายกว่าปกติ รู้สึกเหมือนว่าตัวเองป่วย ไม่สบายตัว  มักเกิดกับผู้หญิงก่อนมีประจำเดือน 5 - 11 วัน เป็นอาการที่หลายคนยังขาดความรู้ความเข้าใจ ทำให้ไม่สามารถควบคุมอาการเอาไว้ได้และก่อให้เกิดปัญหาในด้านปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างซึ่งกลุ่มอาการเหล่านี้ พบได้ถึง 80% ของสาวๆ โดยเฉพาะช่วงอายุ 20 – 40 ปี

ผู้หญิงมักมีอาการ

   หงุดหงิดมาก เครียดหรือวิตกกังวลมาก อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย และอาจมีอาการอื่นๆ ได้แก่ เบื่ออาหารหรือกินเยอะเกินไป นอนไม่หลับหรือนอนเยอะเกินไป สมาธิไม่ดี ความจำไม่ดี เบื่อหน่าย อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง บางคนมีอาการทางร่างกายร่วมด้วย อาจรู้สึกบวม ท้องอืด ท้องป่อง บวมน้ำ ปวดข้อ และเมื่อประจำเดือนมาได้ 4 – 7 วันอาการเหล่านั้นก็จะหายไป

สาเหตุ

   ฮอร์โมนเพศเปลี่ยนแปลงไป หรือบางคนมีระบบสารรับรู้ในเรื่องของอารมณ์ตอบสนองผิดปกติต่อฮอร์โมนเพศที่เปลี่ยนแปลง ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ ประวัติคนในครอบครัวเป็นPMS หรือ Premenstrual Syndrome(เฉพาะเพศหญิง) หรือมีพื้นอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย ฉุนเฉียวง่าย ควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดีก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคดังกล่าวได้เช่นกัน

ไม่อยากมีอาการเหล่านั้น มีวิธีแก้ไข

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  2. หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  3. หลีกเลี่ยงชาและกาแฟ เนื่องจากในชาและกาแฟมีสารกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการหงุดหงิดซึมเศร้า โดยเฉพาะช่วงก่อนมีประจำเดือน
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มหรือหวานจัด
  6. ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค เช่น เคลียงานให้เสร็จก่อนช่วงประจำเดือนมา หรือหากิจกรรมทำให้รู้สึกผ่อนคลายดู ก็ช่วยได้เป็นต้น

วิธีการรักษา
   แพทย์จะทำการพิจารณาก่อนว่าคนไข้มีอาการมากหรือน้อยแค่ไหน หากมีอาการมากจะให้ยาคุมเพื่อปรับฮอร์โมน แต่ยาตัวดังกล่าวมีผลข้างเคียงพอสมควร หากคนไข้มีอาการไม่มากอาจแนะนำให้คนไข้ทำการปรับพฤติกรรมด้วยตนเอง

สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ.นพดล จันทรเทพเทวัญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาสูตินรีเวช
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745 ต่อ ศูนย์สตรี

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.