ศูนย์เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ และมีบุตรยาก
ศูนย์เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล จัดตั้งขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะสร้างความสุขให้กับทุกคู่สมรส เพราะเราเข้าใจถึงการมีบุตรเปรียบเสมือนของขวัญอันล้ำค่า โดยให้บริการครอบคลุมตั้งแต่ให้คำปรึกษา ค้นหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก และใส่ใจทุกรายละเอียดในการรักษาด้วยแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์ และพยาบาล เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพพร้อมเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่หลากหลายพร้อมด้วยห้องปฏิบัติการปลอดเชื้อสำหรับเพาะเลี้ยงตัวอ่อนและปฏิสนธิ รวมถึงอุปกรณ์ภายใต้ระบบปลอดเชื้อที่อยู่ในระดับสูงสุดพื่อการแก้ไขที่ตรงจุดและเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กับครอบครัว
บริการรักษาด้วยเทคโนโลยี
1. การให้คำปรึกษา เพื่อค้นเหตุสาเหตุของการมีบุตรยาก
2. แนะนำและตรวจสุขภาพเพื่อค้นเหตุสาเหตุของการมีบุตรยาก
2.1 การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ (Semen Analysis) เป็นการตรวจหาสาเหตุของการมีลูกยากในฝ่ายชาย โดยจะตรวจอสุจิหลักๆ คือ ปริมาณน้ำอสุจิ จำนวนตัวอสุจิ รูปร่างของอสุจิ และการเคลื่อนที่ของอสุจิ เพื่อนำผลอสุจิไปวินิจฉัยและช่วยวางแผนรักษาภาวะมีบุตรยากให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.2 การตรวจดูระดับฮอร์โมนในฝ่ายหญิง เช่น ฮอร์โมน FSH ฮอร์โมน AMH และฮอร์โมน LH เป็นการตรวจหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก• ฮอร์โมน FSH เป็นการดูการทำงานของรังไข่ว่ามีปัญหาหรือไม่
• ฮอร์โมน AMH เป็นการตรวจประเมินความสามารถในการทำงานของรังไข่ และประเมินหาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Ploycystic Ovary Syndrome: POCS) รวมถึงยังช่วยประเมินหาภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนดอีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก
• ฮอร์โมน LH เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ เรียกว่า การตกไข่ หากไม่มีฮอร์โมนนี้ก็จะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ หากค่าของฮอร์โมน LH สูงเกินไปหรือต่ำเกินไป อาจเป็นสัญญาณของรังไข่หยุดทำงานก่อนวัยอันควร หรือมีภาวะรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ เป็นต้น
2.3 การฉีดสีดูท่อนำไข่และโพรงมดลูก (HSG) การฉีดสีดูท่อนำไข่และโพรงมดลูกจะช่วยดูลักษณะภายในมดลูกและปีกมดลูกว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ทำได้โดยการฉีดสีผ่านทางช่องคลอดเข้าไปในโพรงมดลูก และจะทราบความผิดปกติผ่านทางภาพเอกซเรย์ เช่น มีติ่งเนื้อภายในมดลูก มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ หรือท่อรังไข่อุดตัน รวมไปถึงตรวจดูพังผืดบริเวณท่อนำไข่ สาเหตุของการมีบุตรยาก
2.4 การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก (Diagnostic Hysteroscopy) การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกเป็นวิธีที่จะช่วยให้แพทย์มองเห็นภายในโพรงมดลูกในฝ่ายหญิง เพื่อตรวจหาความผิดปกติ เช่นมีเนื้องอก มีติ่งเนื้อภายในโพรงมดลูก มีผนังกั้นในโพรงมดลูก เป็นต้น
2.5 การอัลตราซาวด์มดลูกและรังไข่ (TVS) การตรวจอัลตราซาวด์ดูมดลูกและรังไข่จะช่วยตรวจหาความผิดปกติของมดลูกและรังไข่ เพื่อหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก เช่น มะเร็งปากมดลูก ถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกรังไข่ เนื้องอกในมดลูก รวมถึงก้อนเนื้อภายในอุ้งเชิงกราน
2.6 การตรวจระดับฮอร์โมนต่างๆ
3. การรักษา
3.1 การฉีดเชื้อหรือการผสมเทียม (IUI) เป็นการฉีดเชื้ออสุจิที่ผ่านการคัดเลือกเฉพาะตัวที่แข็งแรงเข้าไปในโพรงมดลูกในช่วงไข่ตก เพื่อให้อสุจิและไข่มีโอกาสพบกันมากขึ้น เหมาะสำหรับคู่สมรสที่มีปัญหาเชื้ออ่อนไม่มาก, มีความผิดปกติของมูกที่ปากมดลูก, คู่สมรสที่ไม่ทราบสาเหตุของการมีบุตรยาก IUI สามารถเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้ โดยมีโอกาสตั้งครรภ์มากถึง 10 – 15%
3.2 การทำเด็กหลอดแก้ว (ICSI) เป็นการช่วยปฏิสนธิโดยวิธีฉีดอสุจิ 1 ตัวเข้าไปในเซลล์ไข่ ช่วยเพิ่มอัตราการปฏิสนธิและโอกาสการตั้งครรภ์ได้ ขั้นตอนเริ่มจากการฉีดยากระตุ้นรังไข่ในวันที่ 2 ของรอบเดือน โดยฉีดยาทุกวันประมาณ 9-12 วัน ในระหว่างนั้นจะมีการนัดทำอัลตร้าซาวด์ 2-3 ครั้ง เมื่อฟองไข่โตได้ที่แล้ว จะทำการเจาะดูดไข่ออกมาทางช่องคลอด ฝ่ายสามีจะให้เก็บอสุจิออกมาในวันเดียวกัน จากนั้น Embryologist จะทำกระบวนการ ICSI ในห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อน เมื่อไข่และอสุจิปฏิสนธิกันก็จะเกิดเป็นตัวอ่อน (Embryo) ขึ้นมา
3.2.1 การเลี้ยงตัวอ่อนถึงระยะบลาสโตซิสท์ (Blastocyst Culture) กระบวนการเลี้ยงตัวอ่อนเพื่อให้ได้ blastocyst นั้นจะต้องเพาะเลี้ยงภายในห้องปฏิบัติการที่ปลอดเชื้อโดยการควบคุมอุณหภูมิ แสงสว่าง ความชื้นและแรงดัน ตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงในน้ำยาพิเศษที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของตัวอ่อนไปจนถึงระยะ blastocyst ตัวอ่อนจะถูกนำไปเลี้ยงภายในตู้เลี้ยงตัวอ่อนที่มีอุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรด-ด่าง และก๊าซ ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งกระบวนการเลี้ยงตัวอ่อนนี้จะเป็นกระบวนการเลียนแบบให้ใกล้เคียงกับสภาวะภายในร่างกายมากที่สุด
3.2.2 การตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนฝังตัว (PGT) เป็นการดึงเซลล์จากตัวอ่อนออกมาเพื่อตรวจหาความผิดปกติของพันธุกรรม ก่อนการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก
• การตรวจวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (Preimplantation Genetic Diagnosis : PGD ) เหมาะสำหรับคู่สมรสที่มีความกังวลว่าตนจะเป็นพาหะหรือเป็นโรคทางพันธุกรรมและถ่ายทอดความผิดปกตินี้ให้แก่บุตรโดยทั่วไปคู่สมรสที่มีปัญหาเรื่องภาวะมีบุตรยากหรือแท้งซ้ำซ้อนสามารถพบความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ถึง 10% และ 30% ตามลำดับ โรคทางพันธุกรรมก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของเด็กและคู่สมรส เพราะฉะนั้นการป้องกันก่อนที่จะเกิดโรคจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในปัจจุบันใช้เทคโนโลยี NGS (Next generation sequencing) ในการตรวจ
• การตรวจคัดกรองตัวอ่อนก่อนการฝังตัว(Preimplantation Genetic Screening : PGS) การตรวจคัดกรองทางพันธุกรรมก่อนการตั้งครรภ์ เป็นการทดสอบภาวะปกติของโครโมโซมโดยรวม ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจง เป็นเพียงการคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
3.2.3 การแช่แข็งตัวอ่อน (Embryo Freezing) ตามหลักการแล้วสามารถแช่แข็งตัวอ่อน (Embryo Freezing) ได้นานเท่าที่สารรักษาความเย็นมีเพียงพอ ซึ่งจากการรายงานพบว่าผู้รับบริการที่เก็บตัวอ่อนที่นานที่สุดคือ 30 ปี เมื่อนำมาละลายแล้ว ย้ายกลับสู่โพรงมดลูกก็ประสบความสำเร็จได้
สำหรับขั้นตอนในการแช่แข็งตัวอ่อนนั้น มีดังต่อไปนี้
- นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะทำการย้ายตัวอ่อนออกมาแล้วนำตัวอ่อนมาแช่ในน้ำยา Cryoprotectant ตามเวลาที่เหมาะสม
- จากนั้นนำไปแช่แข็งอยู่ในถังไนโตรเจนเหลวอุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส ซึ่งการแช่แข็งตัวอ่อน เราจะทำการแช่อยู่บน Straw ซี่งหนึ่ง Straw จะมีเพียงแค่ 1 ตัว โดยที่ปลาย Straw จะมีป้ายระบุเลขที่ของตัวอ่อน ชื่อ-นามสกุล เลขทะเบียนคนไข้ วันเกิดคนไข้ วันที่แช่แข็ง รวมถึงจะบอก Stage ของตัวอ่อนว่าเป็น Day ที่เท่าไร
- เมื่อพิมพ์ข้อมูลครบถ้วนอยู่ในสติ๊กเกอร์แล้วจะนำมาพันรอบ Straw ทำให้นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน Identify ตัวอ่อนได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
- การทำงานของนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะทำกันเป็นคู่ เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องรวมถึงมีการลงชื่อ เพื่อทวนสอบและ Approved ด้วยทุกครั้งในทุกขั้นตอนขั้นการทำงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผิดพลาดใด ๆ เกิดขึ้น
- สำหรับตัวอ่อนที่ไม่ได้ใช้แล้ว ถ้าไม่แช่แข็งต่อจะต้องมีเอกสารยินยอมพร้อมลงนามจากผู้รับบริการและสามีว่าให้ทำลายทิ้ง หรือมอบให้นักวิทยาศาสตร์ทำการวิจัยต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายนั่นเอง
- ผู้ที่เป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาที่มีผลต่อการทำงานของรังไข่ เช่น เคมีบำบัด การฉายแสง
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวหมดประจำเดือนเร็ว เคยผ่าตัดรังไข่มาก่อน
- ผู้ที่ยังไม่เคยแต่งงาน แต่วางแผนจะมีบุตรในอนาคต
- ผู้ที่รักษาภาวะมีบุตรยาก แต่ในวันเก็บไข่ ฝ่ายชายหลั่งอสุจิหรือเก็บอสุจิไม่ได้
- ผู้ที่เป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาที่มีผลต่ออสุจิ เช่น เคมีบำบัด การฉายแสง การผ่าตัดอัณฑะ
- ผู้ที่ต้องการเก็บอสุจิของตนเองเพื่อมีบุตรในอนาคต
- ผู้ที่รักษาภาวะมีบุตรยาก แต่ไม่สะดวกเก็บอสุจิในวันที่รักษาได้ เช่น ติดงาน, ต้องเดินทางไปต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ
- ผู้ที่จะทำหมัน แต่อาจเปลี่ยนใจต้องการมีบุตรในอนาคต
- อสุจิที่เหลือจากการเจาะดูดจากท่อพักอสุจิ หรือตัดชิ้นเนื้อจากอัณฑะ
- เก็บแช่แข็งอสุจิเพื่อบริจาค
วิธีการเก็บอสุจิมี 4 รูปแบบ ดังนี้
- PESA (Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration) คือ การใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในท่อพักน้ำเชื้อ แล้วดูดตัวอสุจิออกมา เมื่อพบตัวอสุจิแล้วก็จะนำเอามาทำ ICSI ต่อไป
- TESE (Testicular Epididymal Sperm Extraction) คือ การผ่าตัดเอาเนื้ออัณฑะออกมาเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วแยกตัวอสุจิที่อยู่ในเนื้ออัณฑะออกมา จากนั้นก็นำไปทำ ICSI ต่อไป
- TESA (Testicular Sperm Aspiration) คือ การใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในลูกอัณฑะ แล้วดูดตัวอสุจิออกมา จากนั้นก็นำไปทำ ICSI ต่อไป
- MESA (Microsurgical Epiddymal Sperm Aspiration) คือ การผ่าตัดเข้าไปหาท่อพักน้ำเชื้อส่วน epididymis แล้วจึงใช้เข็มแทงเข้าไป และดูดตัวอสุจิออกมา จากนั้นก็นำไปทำ ICSI ต่อไป
- การผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูก (Hysteroscopic Surgery) เป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์มองเห็นสภาพภายในโพรงมดลูกได้ดีที่สุด ในการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจนในผู้หญิงที่มีอาการผิดปกติทางนรีเวช เช่น เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด เลือดออกในวัยหมดประจำเดือน และมีบุตรยาก รวมทั้งสามารถรักษาความผิดปกติที่มีต้นเหตุจากภายในโพรงมดลูกได้อย่างแม่นยำ ปลอดภัย ไร้แผล ช่วยให้การรักษาได้ผลดี
วันเวลาทำการ
เปิดทุกวันวันจันทร์ - อาทิตย์ เวลา 08:00 - 20:00 น.
ศูนย์เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ชั้น 8 โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นเเนล
โทรศัพท์ 02–109–9111 ต่อ 10810, 10811
โทรสาร 02–877–2222
Call Center 1745