Bangpakok Hospital
  • A
  • A
  • A
BPK Hotline

ศูนย์หัวใจ

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล  ให้บริการด้านการดูแลทุกปัญหาสุขภาพหัวใจโดยรักษาพยาบาล ผู้ป่วยโรคหัวใจ ให้บริการตั้งแต่การตรวจคัดกรองสุขภาพหัวใจ ไปจนถึงการตรวจรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคทรวงอกอย่างละเอียด ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีทีมแพทย์อายุรกรรมหัวใจ กุมารแพทย์โรคหัวใจ และศัลยแพทย์หัวใจ และทีมพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะประจำตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงมีห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ ห้องผ่าตัด และห้องพักผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจที่ได้มาตรฐาน ครบครันด้วยอุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ และมีการผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก การผ่าตัดแบบ Off pump การปิดรูรั่วในหัวใจด้วยร่ม ( โดยไม่ต้องผ่าตัด ) มาใช้รักษาผู้ป่วย ส่งผลให้ผลการรักษาและการฟื้นตัวของผู้ป่วยเร็วขึ้นจึงมั่นใจได้ว่า ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาและดูแลอย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

โรคหัวใจ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มวัย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคหัวใจ เพราะมักไม่มีอาการในระยะแรก กว่าจะรู้ก็มีอาการของโรคหัวใจที่ชัดเจน เช่น เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หรือยิ่งไปกว่านั้นก็อาจพบหลังประสบภาวะหัวใจวายไปแล้ว และถึงแม้ว่าโรคหัวใจจะเป็นโรคที่มีความรุนแรงและทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ แต่สามารถป้องกัน และรักษาได้ ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางและเทคโนโลยีทางการแพทย์

 

การบริการทางการแพทย์ของศูนย์หัวใจ

  1. การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือด
          ให้การปรึกษาแก่ผู้ป่วยที่ต้องการหาทางเลือกการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบนอกเหนือจากการผ่าตัด รวมทั้งให้การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ทำการรักษาได้ยากหรือมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
  • หลอดเลือดหัวใจตีบตัน
  • การตีบของหลอดเลือดบริเวณที่หลอดเลือดแตกแขนง
  • หลอดเลือดหัวใจตีบหลายเส้น
  • ผู้ป่วยที่เคยทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนมาก่อน
  • ผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดบายพาสมาแล้ว
  • ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการรักษาแบบปกติ เช่นมีภาวะหัวใจล้มเหลว มีโรคอื่นร่วม และผู้ป่วยสูงอายุ
  • ผู้ป่วยที่ปฏิเสธการผ่าตัดบายพาส หรือแพทย์มีความเห็นว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการผ่าตัด

การรักษา

การรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง และมีประสบการณ์ในการรักษา ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ ร่วมทั้งการใช้เทคนิคพิเศษในการรักษาเช่น

  • สายสวนหลอดเลือดหัวใจแบบพิเศษ
  • เครื่องกรอหินปูน (Rotablator) ในกรณีที่การตีบของหลอดเลือดหัวใจมีหินปูนเกาะปริมาณมาก
  • การอัลตร้าซาวด์หลอดเลือดหัวใจ (Intravascular Ultrasound: IVUS) โดยการใช้หัวอัลตร้าซาวด์พิเศษใส่เข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งทำให้สามารถประเมินบริเวณหลอดเลือดหัวใจที่ตีบได้แม่นยำขึ้น ทำให้แพทย์สามารถตัดสินใจให้การรักษาได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถใช้ยืนยันผลการใส่ขดลวดค้ำยันหัวใจได้อย่างดี
  • เครื่องพยุงหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดด้วยบอลลูน (Intra-aortic Balloon Pump: IABP) ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
  • เครื่องหัวใจและปอดเทียม (Extracorporeal Membrane Oxygenation: ECMO) เพื่อทำงานแทนหัวใจและปอดชั่วคราว ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหรือปอดล้มเหลวรุนแรง
  1. การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

          ให้บริการดูแลรักษาผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างครอบคลุม เริ่มตั้งแต่การป้องกัน การวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น การรักษา ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ โดยแพทย์เฉพาะทางด้านการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ พร้อมด้วยบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมด้านหัวใจเต้นผิดจังหวะมาโดยเฉพาะ โดยพยาบาลวิชาชีพ นักรังสีการแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ เภสัชกร และนักกายภาพบำบัด

การรักษา

  • การใช้ยาควบคุมจังหวะของหัวใจ
  • เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดชั่วคราว (Temporary pacemaker)
  • เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวร (Permanent pacemaker)
  • การใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ (cardioversion)
  • การใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจที่นำไฟฟ้าผิดปกติ (ablation therapy)
  • การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (implantable cardioverter defibrillator)
  • การตรวจระบบการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ (Cardiac Electrophysiology Lab - EP Lab)
  • การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูงผ่านสายสวน (Radiofrequency Catheter Ablation of Cardiac Arrhythmias)
  • การใส่เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดผ่าตัดฝังติดตัวผู้ป่วย (Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator: AICD)
  • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจและช่วยการบีบตัวหัวใจ (Cardiac Resynchronization Therapy: CTR/CRTD)
  • กลุ่มหัวใจเต้นผิดจังหวะแต่กำเนิด
  • ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือมีความผิด ปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจทุกชนิด
  1. การตรวจวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจ

          ให้บริการดูแลรักษาทุกปัญหาเกี่ยวกับโรคลิ้นหัวใจ พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางที่ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศัลยแพทย์โรคหัวใจ วิสัญญีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (echo) แพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ และทีมสหวิชาชีพที่มากด้วยประสบการณ์ รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ครบครัน

การรักษา

  • การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด (TAVI)
  • ปิดรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจผ่านทางสายสวนหัวใจ (Transcatheter ASD Closure)
  • การรักษาโรคหัวใจแต่กำเนิดโดยการ ปิดลิ้นหัวใจรั่วผนังหัวใจห้องบน / ผนังหัวใจห้องล่าง (Transcatheter ASD Closure)
  • การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด (Percutaneous Coronary Intervention: PCI)
  • การขยายหลอดเลือดที่ขาตีบด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด (Percutaneous Transluminal Angioplasty: PTA)
  • การผ่าตัดการผ่าตัดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Heart Valve Replacement or Repair) เป็นการผ่าตัดแบบวิธีมาตรฐาน คือ การเปิดแผลผ่าตัดกึ่งกลางหน้าอก รักษาโรคลิ้นหัวใจผิดปกติ ในกรณีลิ้นหัวใจสูญเสีย หรือเสื่อมสภาพไปมากแล้ว
  • การผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ (CABG) เป็นการผ่าตัดต่อเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจเพื่อทำการเบี่ยงเสริมหลอดเลือดบริเวณที่ตีบหรือตัน

ปฏิบัติการสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization Laboratory) 

ให้การรักษาจากทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีมากประสบการณ์ พร้อมอุปกรณ์การแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยและวิเคราะห์โรคหัวใจที่ได้มาตรฐาน พร้อมให้บริการคลอด 24 ชั่วโมง อาทิ

  • การสวนหัวใจและฉีดสีตรวจหลอดเลือดหัวใจ
  • การขยายหลอดเลือดด้วยการทำบอลลูน หรือใส่ขดลวด
  • การใส่เครื่องพยุงหัวใจ
  • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker) แบบชั่วคราว และแบบถาวร
  • การใส่เครื่องกระตุ้นและช็อคไฟฟ้าหัวใจ
  • การรักษาด้วยการวางตะแกรงกรองลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำใหญ่
  • การรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดด้วยวิธีการไม่ต้องผ่าตัด เช่น การปิดรูรั่วของผนังกั้นหัวใจห้องบน

เครื่องมือและเทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัย และการรักษา ดังนี้

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG (Electrocardiography)

      เป็นการตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะที่หัวใจบีบตัว เป็นวิธีการตรวจหาโรคหัวใจที่ง่าย ได้ผลดี ไม่เจ็บ ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที การตรวจนี้อาจให้ผลปกติ ในภาวะที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในระยะเริ่มต้น ถ้าสงสัยควรตรวจซ้ำ

  • การทดสอบสมรรถภาพหัวใจในขณะออกกำลังกาย EST (Exercise Stress Test)

      เป็นการตรวจหาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่เกิดในขณะออกกำลังด้วยการเดินบนสายพานที่เคลื่อนที่เร็วขึ้นเรื่อยๆ จะพบอาการแสดงและการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจหากพบว่ามีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้

  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)
    • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางหลอดอาหาร (Transesophageal Echocardiography: TEE) เป็นการตรวจหัวใจจากด้านในของระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากทางเดินอาหารอยู่ด้านหลังของหัวใจ ทำให้การตรวจวิธีนี้จะให้ภาพชัดกว่าการตรวจทางหน้าอก เนื่องจากเครื่องมืออยู่ใกล้หัวใจ และไม่มีปอด กระดูกมาบัง จะทำในผู้ป่วยที่สงสัยในเรื่องของลิ้นหัวใจหรือการตรวจหาลิ่มเลือดในหัวใจห้องบน
    • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางผนังทรวงอก (Transthoracic Echocadiography, TTE) เป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียงทะท้อนความถี่สูงระบบดิจิตอลผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจ ด้วยหัวตรวจชนิดพิเศษทำให้เห็นภาพของห้องหัวใจและการบีบตัว ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรค พยากรณ์โรค ตรวจหาความรุนแรงของโรค และติดตามผลการรักษาในโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การตรวจสมรรถภาพของหัวใจในขณะที่หัวใจทำงานมากกว่าปกติ (Stress echocardiography) แบ่งได้ดังนี้
    • การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงร่วมกับการใช้ยากระตุ้นหัวใจ (Dobutamine Echo)
    • การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงร่วมกับการออกกำลังกาย (Exercise Echo)
  • การบันทึกคลื่นหัวใจ 24 ชั่วโมง แบบพกพา (Holter Monitoring)

      เป็นการติดเครื่องมือที่บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24-48 ชม. ไว้กับตัวผู้ป่วยตลอดเวลาขณะมีกิจกรรมในชีวิตประจำวัน โดยที่ผู้ป่วยสามารถกลับไปพักที่บ้าน หรือทำงานได้ตามปกติ เครื่องจะทำการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เมื่อครบกำหนด 24-48 ชม. ผู้ป่วยจึงกลับมาถอดเครื่องเพื่อให้แพทย์อ่านผลและวินิจฉัยว่ามีหัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่

  • การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจโดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CTA (Coronary Artery Calcium Scan)
  • การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ตรวจหาหินปูน (calcified plaque) 
    ที่บริเวณหลอดเลือดแดงโคโรนารี ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงหลักที่ส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
  • การตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบจากความดันโลหิตที่ขาและแขน ABI (Ankle Brachial Index) 

      การตรวจสมรรถภาพการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงส่วนปลายหรือการตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดงส่วนปลายที่ขา สะดวก ปลอดภัย ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด และทราบผลได้ในเวลาอันรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหารก่อนเข้ารับการตรวจและยังเป็นการค้นหาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดหัวใจได้ด้วย

  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายการตรวจคลื่นหัวใจโดยใช้โดบูตามีนกระตุ้น (Dobutamin Stree Echocardiogram)
    เป็นการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะที่หัวใจทำงานมากกว่าปกติ โดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์หัวใจร่วมกับการให้ยา Dobutamin เป็นตัวกระตุ้นผ่านทางสายน้ำเกลือทางหลอดเลือดดำใช้ในกรณีที่คนไข้ไม่สามารถตรวจโดยการเดินสายพานได้

    • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบพกพา (Event recorder)
    • การทดสอบภาวะเป็นลมหมดสติด้วยเตียงปรับระดับ (Tilt table test)
    • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบพกพา (Event recorder)
    • การทดสอบภาวะเป็นลมหมดสติด้วยเตียงปรับระดับ (Tilt table test)
  • การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary angiography, CAG)
  • การตรวจสวนหัวใจ (cardiac catheterization)

 

วันเวลาทำการ 
เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 08:00 – 20:00 น.
ศูนย์หัวใจ ชั้น 3 โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : 02–109–9111 ต่อ 10325, 10326
โทรสาร : 02–877–2222
Call Center : 1745

บริการ & หมอเฉพาะทาง

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.