การเคาะปอดจัดท่าระบายเสมหะในเด็ก
1. การเคาะปอดระบายเสมหะในเด็ก
อาการเจ็บป่วยที่มักพบบ่อยในเด็กคือโรคระบบทางเดินหายใจ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบทางเดินหายใจ ร่างกายจะพยายามกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นด้วยการไอออกมา (หรืออาจกลืนลงไปบ้าง ร่างกายก็จะขับถ่ายออกมาได้เอง) เป็นกลไกป้องกันตัวตามปกติของร่างกาย แต่สำหรับเด็กมักจะไม่สามารถไอและขับเสมหะออกมาได้เอง ทำให้เกิดภาวะการคั่งค้างของเสมหะในทางเดินหายใจของผู้ป่วยเด็ก เป็นปัญหาสำคัญในการขัดขวางการระบายอากาศ ทำให้ปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ตามปกติ ส่งผลให้ต้องออกแรงในการหายใจมากขึ้นจนมีอาการหอบเหนื่อยตามมา บางรายอาจมีเสมหะมากจนอุดกั้นท่อทางเดินหายใจ อาจทำให้เกิดภาวะปอดบวมหรือปอดอักเสบได้ ผู้ป่วยเด็กจึงควรต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และเมื่อมีการสะสมเสมหะมากขึ้น หรือเสมหะมีลักษณะเหนียวมากขึ้น จะทำให้ผู้ป่วยเด็กไม่สามารถขับเสมหะออกจากทางเดินหายใจโดยอาศัยกลไกของร่างกายเพียงอย่างเดียวจำเป็นต้องมีการทำกายภาพบำบัดทรวงอก (Chest Physiotherapy) เพื่อช่วยขับเสมหะออกมา ซึ่งได้แก่การเคาะปอด, การใช้แรงสั่นสะเทือน, การจัดท่าระบายเสมหะ และการฝึกไอให้มีประสิทธิภาพ
การเคาะปอดและการสั่นปอด มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือการทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนผ่านผนังทรวงอกลงไปถึงแขนงหลอดลม ลมที่กระทบผนังทรวงอกขณะเคาะ จะทำให้เสมหะที่เกาะอยู่บริเวณทางเดินหายใจส่วนปลายค่อยๆหลุดเลื่อนไหลออกมาตามแขนงหลอดลมจากเล็กไปใหญ่ และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอเพื่อระบายเสมหะออก ในเด็กเล็กอาจใช้ผ้าบางๆ วางบนตำแหน่งที่เคาะ การเคาะปอด จะต้องทำมือลักษณะเป็นกระเปาะหรือรูปถ้วย (cup hand) ปลายนิ้วชิดกัน ข้อมือ ข้อศอก และไหล่เคลื่อนไหวสบายๆ เคาะด้วยความถี่ 3 ครั้งต่อวินาที เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ให้ทั่วๆบริเวณทรวงอกส่วนที่เคาะอยู่ เคาะวนเป็นวงกลม หรือเลื่อนไปทางซ้ายและขวาก็ได้ โดยเคาะตามลักษณะกายวิภาคศาสตร์กลีบของปอด 2 ข้าง กลีบละ 1 - 2 นาที ใช้เวลารวมทั้งหมดไม่ควรเกิน 30 นาที (ในทารกแรกเกิด นักกายภาพบำบัดอาจเลือกใช้วิธีใช้นิ้วเคาะปอดแทนการใช้ทั้งอุ้งมือ)
4. การจัดท่าระบายเสมหะ (Postural Drainage)
เป็นการอาศัยหลักแรงโน้มถ่วงของโลกช่วยระบายเสมหะออกจากส่วนต่างๆของหลอดลม ด้วยการจัดท่าของผู้ป่วยให้ส่วนที่มีเสมหะคั่งค้างอยู่สูงกว่าทางออกของหลอดลมและปาก ทำให้เสมหะไหลออกจากหลอดลมเล็กสู่หลอดลมใหญ่ และถูกขับออกโดยกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอและบ้วนเสมหะ นิยมใช้ร่วมกับเทคนิคการเคาะปอดและการสั่นปอด ใช้เวลาประมาณ 1 นาทีแต่ละท่า มีตัวอย่างดังนี้
ข้อห้ามของการเคาะปอดและการสั่นปอด
- มีภาวะเลือดออกง่าย หรือกำลังได้รับยาที่มีความเสี่ยงเลือดออกง่าย
- มีอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลังเฉียบพลัน
- ซี่โครงหัก หรือมีภาวะที่มีความเสี่ยงกระดูกหักง่าย
- มีบาดแผลจากการปลูกถ่ายผิวหนัง (skin graft) หรือแผลไฟไหม้
- มีการสูดสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไป
- มีภาวะสัญญาณชีพไม่คงที่
- มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดที่ยังไม่ได้รับการระบายออก (untreated pneumothorax)
- มีการอักเสบเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ (acute inflammatory pulmonary process)
- มีการติดเชื้อวัณโรค หรือฝีในปอด
ข้อห้ามของการจัดท่าระบายเสมหะ
- ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง
- มีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ คอ กระดูกสันหลัง หรือกระดูกซ่โครงหัก
- หลังการผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับตา
- มีภาวะเลือดออกง่าย
- มีภาวะสัญญาณชีพไม่คงที่
- ไอเป็นเลือด, ภาวะหนองในโพรงเยื่อหุ้มปอด, โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด, มีแผลรูเปิดระหว่างหลอดลมและช่องเยื่อหุ้มปอด
เปิดทุกวันทำการ วันจันทร์ - วันอาทิตย์ เวลา 08:00 - 20:00 น.
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ชั้น 6 โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : 02-109-9111 ต่อ 10627, 10628
Call Center 1745