Frozen shoulder (อาการข้อไหล่ติด)
โรคข้อไหล่ติด (Adhesive capsulitis / Frozen shoulder) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนกลุ่มวัยกลางคน อายุ 40 - 60 ปีโดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดและเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ลำบาก เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของเยื่อหุ้มไหล่ ทำให้มีการหนาตัวและเกิดการหดรั้ง สาเหตุของการเกิดยังไม่เป็นที่แน่ชัด อาจจะเกิดแบบไม่ทราบสาเหตุหรือทราบสาเหตุส่วนมากพบจากการบาดเจ็บจึงทำให้เกิดการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ เช่น มีกระดูกปลายแขนหักใส่เฝือกนาน 4 - 6 สัปดาห์ หรือผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บของเอ็นกล้ามไหล่โดยมีอาการปวดจนต้องหยุดการใช้งาน ทำให้เกิด ภาวะ frozen shoulder ได้
ระยะยการดำเนินการของโรค
จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
-
ระยะที่ 1 Freezing phase เป็นช่วงที่มีที่มีการอักเสบอาการเจ็บปวดที่รุนแรงโดยเฉพาะในช่วงกลางคืนจนรบกวนการพักผ่อนและการใช้ชีวิตประจำวัน
-
ระยะที่ 2 Frozen phase ระยะนี้จะมีอาการปวดลดลงแต่จะมีอาการติดแต่มีอาการติดของไหล่มากขึ้น โดยเฉพาะการหมุนแขน เข้า-ออกและการกางแขน ผู้ป่วยมักบอกว่าไม่สามารถกางแขน เอื้อมมือหวีผมไม่ได้ ในเพศหญิงจะติดตะขอเสื้อในด้านหลังไม่ได้
-
ระยะที่ 3 Thawing phase เป็นช่วงที่ผู้ป่วยขยับไหล่ได้น้อยลง อาการเจ็บปวดก็น้อย
การรักษาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง
-
ระยะปวดมาก เป้าหมายการรักษาในระยะนี้ เพื่อลดอาการปวดและอักเสบ การรักษาในช่วงแรกจะเน้นการรักษาเพื่อลดอาการปวด เช่น ฉีดยา สเตียรอยด์ที่ข้อไหล่ การ รับประทานยาแก้ปวดร่วมกับการรักษาทางกายภาพบำบัด
-
ระยะที่ปวดน้อยลงแต่ยังมีการยึดติดที่มาก เป้าหมายการรักษาในระยะนี้ เพื่อลดอาการเจ็บปวดและเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเฉพาะที่ระหว่างวันจะปวดน้อยลง กลางคืนจะไม่ปวด อาจจะใช้การรักษาด้วยความร้อนตื้นหรือความร้อนลึกก่อนการดัดดึงข้อไหล่
การรักษาทางกายภาพบำบัด
- การประคบแผ่นร้อน
- การดัดดึงข้อไหล่
- คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง
- คลื่นเหนือเสียง
- การออกกำลังกาย มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการบรรเทาและรักษาอาการของโรคโดยเน้นออกกำลังกายเน้นที่เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว
- ประคบเย็นหลังทำการรักษาทางกายภาพบำบัด
- Home program การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายในข้อไหล่ติด
ท่าที่ 1 ท่าประสานมือ
นั่งหรือยืน ศีรษะตั้งตรง ประสานมือทั้งสองไว้ที่ท้ายทอย แบะไหล่ออก ทำท่าละ 10 ครั้ง/ เซต ทำ 2 - 3 เซต/วัน
ท่าที่ 2 ท่ายกแขน
ยกแขนทั้ง 2 ข้างไปข้างหน้า พยายามยกให้สูง เพื่อให้ต้นแขนชิดใบหู แล้วกลับลงท่าเดิม ค่อยเพิ่มมุมขึ้นออกกำลังข้อไหล่ พยายามเคลื่อนไหวข้อไหล่ ทุกทิศทาง ทำท่าละ 10 ครั้ง/ เซต ทำ 2 - 3 เซต/วัน
ท่าที่ 3 ท่าแกว่งแขน
แกว่งแขนไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างในออกข้างนอก แกว่งเป็นวงกลม ตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกา ทำครั้งละ 1 - 2 นาที ทำ 10 ครั้ง/ เซต ทำ 2 - 3 เซต/วัน
ท่าที่ 4 ท่าเกาหลัง
ยืนหันหน้าเข้าฝาผนัง ระยะห่างจากผนัง 1 ช่วงแขน ใช้นิ้วแตะข้างฝาไต่ฝาผนังขึ้น เมื่อรู้สึกตึงบริเวณหัวไหล่ให้ค้างไว้ 10 วินาที แล้วขีดเส้นไว้ แล้วค่อยๆไต้เอามือลงมาสู่ท่าเริ่มต้น ทำ 5 - 10 ครั้งต่อวัน ทำได้ทุกวันและพยายามไต่มือให้มากขึ้นตามลำดับเส้นที่ขีดไว้
ท่าที่ 6 ท่ายืดกล้ามเนื้อแขน
ยืนใช้มือจับข้อศอกให้แขนข้ามร่างกายให้สุด ทำท่าละ 10 ครั้ง/ เซต ทำ 2 - 3 เซต/วัน
วันเวลาทำการ
เปิดทุกวันทำการ วันจันทร์ - วันอาทิตย์ เวลา 08:00 - 20:00 น.
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ชั้น 6 โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : 02-109-9111 ต่อ 10627, 10628
Call Center 1745