Myofascial Pain Syndrome (อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง)
Myofascial Pain Syndrome (MPS) เป็นโรคปวดกล้ามเนื้อที่เป็นอาการปวดเรื้อรัง โดยอาการปวดของโรคนี้จะเกิดขึ้นในบริเวณของศูนย์รวมความปวดของกล้ามเนื้อ หรือที่เรียกกันว่า จุดกดเจ็บ (Trigger points) มีการกระจายของอาการปวดไปตามส่วนของกล้ามเนื้อนั้นๆ ส่วนใหญ่คนทุกๆคนมักเคยมีอาการปวดกล้ามเนื้อแต่มักหายเอง แต่ผู้ป่วย MPS มักมีอาการปวดที่เป็นเรื้อรังและมีอาการปวดที่แย่ลง โดยโรค MPS มีความสัมพันธ์กับโรคที่เกี่ยวกับความปวดอื่นๆได้แก่ ไมเกรน ปวดกราม ปวดต้นคอ ปวดเอว หรือแม้แต่ปวดแขนขา เป็นต้น ปัจจุบันมีประชากรกว่าร้อยละ 30 มีปัญหาเรื่องโรคปวดเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในสำนักงานที่ต้องนั่งทำงานและใช้คอมพิวเตอร์นานๆ
อาการและอาการแสดงมีดังนี้
- มีอาการปวดร้าวลึกๆ ของกล้ามเนื้อ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย อาจปวดตลอดเวลาหรือปวดเฉพาะเวลาทำงาน
- ความรุนแรงของการปวด มีได้ตั้งแต่แค่เมื่อยล้าพอรำคาญ จนไปถึงปวดทรมานจนไม่สามารถขยับกล้ามกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้
- บางกรณีมีอาการชามือและชาขาร่วมด้วย
- บางรายมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง อาการนอนไม่หลับ
- มีความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย เช่น ผู้ที่มีกระดูกสันหลังคด ระดับไหล่สองข้างไม่เท่ากัน ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน จึงเกิดภาวะการทำงานของกล้ามเนื้อไม่สมดุลกัน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดของกล้ามเนื้อได้
การรักษาทางกายภาพบำบัด
- การนวด
- การยืดกล้ามเนื้อ
- การประคบร้อน
- การปรับท่าทางที่เหมาะสม
- การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
- การรักษาด้วยคลื่นเสียง (Ultrasound)
- การแนะนำท่าการออกกำลังกายที่เหมาะสม
- การรักษาด้วยคลื่นซ๊อตเวฟไดอะเธอมี่ (Shortwave diathermy)
ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการตรวจรักษา
อาจมีการปวดระบมจากการรักษาได้ โดยอาการดังกล่าวจะหายไปใน 1 - 3 วัน
การปฏิบัติตน
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย
1. ควรปรับท่าทางขณะทำงานที่ถูกต้องเหมาะสม ท่านั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ และท่าทางจับเมาส์ที่ถูกต้อง แสดงดังรูปด้านล่าง คือปรับจอภาพด้านบนสุดให้อยู่ในแนวเดียวกับระดับสายตา ไม่ควรยกไหล่ขณะพิมพ์งาน ควรใช้เก้าอี้แบบมีพนักพิงและปรับพนักพิง 100-110 องศา สะโพกและขาต้องตั้งฉาก ปรับความสูงของเก้าอี้ให้พอดี ระดับความสูงของโต๊ะต้องพอดี เท้าสองข้างวางราบกับพื้น3. ท่ายืดกล้ามเนื้อเพื่อลดการเกร็งตัว และเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ในแต่ละท่ายืดค้าง 10 - 15 วินาที ทำซ้ำท่าละ 3 - 5 ครั้ง วันละ 2 - 3 รอบ หรือทุกๆ 2 - 3 ชั่วโมง
3.1 ท่าที่ยืดกล้ามเนื้อต้นคอด้านหลังและด้านหน้า
3.2 ท่าที่ยืดกล้ามเนื้อต้นคอข้างและบ่า
3.3 ท่าที่ยืดกล้ามเนื้อต้นคอด้านข้างเยื้องไปทางด้านหลังและบ่า
3.4 ท่ายืดกล้ามเนื้อกลุ่มต่างๆ ขณะนั่งบนเก้าอี้
3.5 ท่าออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบต้นคอ โดยการออกแรงต้านตรงข้ามกับทิศทางการเคลื่อนไหว (ไม่มีการเคลื่อนไหวศีรษะ)
3.5.1 ท่าแรก พยายามเอียงศีรษะไปด้านขวา ต้านกับมือขวา นับค้าง 1 - 10 ทำซ้ำ 5 ครั้ง/รอบ 2 - 3 รอบ/วัน สลับข้าง
3.5.2 ท่าที่ 2 พยายามเงยคอไปด้านหลัง ต้านกับมือ นับค้าง 1 - 10 ทำซ้ำ 5 ครั้ง/รอบ 2 - 3 รอบ/วัน จากนั้นสลับกับก้มคอ ต้านกับมือทั้งสองข้าง
วันเวลาทำการ
เปิดทุกวันทำการ วันจันทร์ - วันอาทิตย์ เวลา 08:00 - 20:00 น.
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ชั้น 6 โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : 02-109-9111 ต่อ 10627, 10628
Call Center 1745