การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยกระดูกคอเสื่อม
ทำให้ผิวข้อกระดูกสันหลังมีหินปูนงอก (osteophyte) ประกอบกับหมอนรองกระดูกมีการเสื่อม ทำให้ช่องว่างระหว่างข้อต่อแคบลง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อย โดยผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเมื่อยต้นคอเป็นครั้งคราว หรือเรื้อรัง บางครั้งอาจปวดนานเป็นเดือนแล้วค่อยทุเลาหรือ บางรายอาจเป็นมากจนถึงขั้นมีการกดทับของรากประสาท หรือไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ และมีอาการปวดร้าว เสียวๆ แปลบๆ และชาลงมาที่ไหล่ แขน มือ และอาจมีการอ่อนแรงร่วมด้วย ซึ่งมักจะเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง อาการปวดที่เกิดขึ้นมักเป็นมากเมื่อมีการเคลื่อน ไหว หันคอ เอี้ยว หรือเงยศีรษะ
แนวทางการรักษา
- วิธีกายภาพบำบัด มีเป้าหมายของการรักษา คือ ลดอาการปวดและฟื้นฟูสมรรถนะของกล้ามเนื้อและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำด้วยการบรรเทาอาการปวด อักเสบและคลายกล้ามเนื้อ ด้วยวิธีการรักษาด้วยการประคบร้อน การทำ Ultrasound (ความร้อนลึก) การดึงคอ การหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวของกระดูกคอในท่าที่ทำให้เกิดอาการปวดมากขึ้น การบริหารกล้ามเนื้อรอบคอให้แข็งแรงเพื่อช่วยพยุงกระดูกคอและช่วยรับน้ำหนักศีรษะไม่ให้ผ่านกระดูกคอมากเกินไป
- วิธีการผ่าตัด ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างเต็มที่แล้ว ทั้งโดยการใช้ยาและกายภาพบำบัด แต่ยังคงมีอาการปวด ชา ร่วมกับการอ่อนแรง แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัด เพื่อแก้ไขและบรรเทาการกดเบียดเส้นประสาทและไขสันหลัง โดยวิธีการผ่าตัดนั้นขึ้นอยู่กับ ลักษณะพยาธิภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยในแต่ละราย
ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการตรวจรักษา
ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัดนั้นน้อยมากหรือแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย เนื่องจากเป็นวิธีการรักษาตามหลักวิชากายภาพบำบัด ที่ไม่มีความรุนแรง โดยเน้นให้ผู้ป่วยค่อยๆ ฟื้นฟู บรรเทาอาการเจ็บป่วยได้อย่างถูกวิธี เช่น การบรรเทาอาการปวดด้วยความร้อน - เย็น การบริหารร่างกายตามส่วนต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ รวมทั้งปรับปรุงการเคลื่อนไหวเพื่อช่วยในการรักษา โดยผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้นั้นเนื่องมาจาก
การบริหารด้วยด้วยการเก็บคาง เพื่อช่วยจัดแนวกระดูกคอไม่ให้ยื่นมาทางด้านหน้ามากเกินไป สร้างความสมดุลในการรับน้ำหนักของกล้ามเนื้อคอและกระดูกคอ โดยการเก็บคางให้แนวใบหูตรงกับแนวข้อไหล่ ไม่ก้มหน้า กระดูกคออยู่ในแนวตรง ให้ทำวันละ 5 รอบ รอบละ 10 ครั้ง
- การบริหารร่างกายไม่ถูกหลักและวิธีการตามที่นักกายภาพบำบัดได้แนะนำ ซึ่งอาจเนื่องมาจากผู้ป่วยอาจลืมรายละเอียดที่ได้แนะนำ หรือการไม่เข้าใจวิธีการอย่างถ่องแท้ ดังนั้นควรสอบถามให้เข้าใจ
- ในระหว่างการรักษาหากมีการประคบหรืออบด้วยความร้อน และความเย็น ผู้ป่วยต้องไม่หลับ และตรวจสอบความรู้สึกไม่ให้รู้สึกร้อนหรือเย็นเกินไป หากเกิดความรู้สึกดังกล่าวต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ มิเช่นนั้นอาจเกิดแผลพุพองจากความร้อน-เย็นได้
การปฏิบัติตน
- หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดมากขึ้น โดยส่วนใหญ่มักจะเป็น ท่าเงยหรือแหงนคอ หรือหากเอียงคอหรือหมุนศีรษะ ไปข้างใดแล้วมีอาการเจ็บร้าวมากขึ้น ให้หลีกเลี่ยงการเอียงหรือหมุนศีรษะนั้น
- หลีกเลี่ยงการบิดหมุน หรือ สะบัดคอบ่อยๆ
- หลีกเลี่ยงการทำงานโดยการแหงนคอ หรือ ก้มคอเป็นเวลานานๆ บ่อยๆ หรือการนอนคว่ำแล้วอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ การเอียงศีรษะพูดคุยโทรศัพท์ เป็นต้น
- ไม่ควรนอนหมอนที่สูง หรือ ต่ำเกินไป ควรนอนให้หมอนหนุนศีรษะโดยมีส่วนรองรับใต้คอให้กระดูกคออยู่ในลักษณะปกติ
- การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงคอ ช่วยเรื่องการจำกัดการเคลื่อนไหวของคอเพื่อช่วยลดการอักเสบ จะมีประโยชน์ในช่วงแรกๆ เมื่อมีอาการปวด แต่ไม่ควรใส่เป็นเวลานานเพราะอาจก่อให้เกิดภาวะการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อคอได้ ควรใช้เป็นระยะๆ ร่วมกับการบริหารกล้ามเนื้อคอ
- บริหารเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อคอ (core stabilization exercise) เพื่อให้กล้ามเนื้อช่วยรับน้ำหนักศีรษะไม่ให้ผ่านกระดูกคอมากเกินไป โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การบริหารด้วยด้วยการเก็บคาง เพื่อช่วยจัดแนวกระดูกคอไม่ให้ยื่นมาทางด้านหน้ามากเกินไป สร้างความสมดุลในการรับน้ำหนักของกล้ามเนื้อคอและกระดูกคอ โดยการเก็บคางให้แนวใบหูตรงกับแนวข้อไหล่ ไม่ก้มหน้า กระดูกคออยู่ในแนวตรง ให้ทำวันละ 5 รอบ รอบละ 10 ครั้ง
ให้ผู้ป่วยคอยสังเกตอาการและจดบันทึกรายละเอียดของลักษณะอาการที่เกิดขึ้นว่าดีขึ้นหรือแย่ลงย่างไร โดยบันทึกลักษณะอาการว่าเป็นอย่างไร และมีผลบริเวณใดของร่างกายบ้าง ความถี่ของอาการ ช่วงเวลาใด ระยะเวลานานเท่าใด เป็นต้น
วันเวลาทำการ
เปิดทุกวันทำการ วันจันทร์ - วันอาทิตย์ เวลา 08:00 - 20:00 น.
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ชั้น 6 โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : 02-109-9111 ต่อ 10627, 10628
Call Center 1745